ธุรกิจโลจิสติกส์
1. ความสำคัญของโลจิสติกส์
การพัฒนาโลจิสติกส์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานที่มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ในปี ๒๕๗๙ โดยการยกระดับศักยภาพโลจิสติกส์ทั้งระบบ และเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจบริการโลจิสติกส์ ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางของโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคและภูมิภาคอาเซียน มุ่งสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูงและพร้อมเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี ๒๕๗๙ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานในภาคขนส่งที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมุ่งเน้นให้ต้นทุนระบบโลจิสติกส์ของประเทศอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ในระดับสากล
2. สถานการณ์โลจิสติกส์ไทยในปัจจุบัน
คาดว่าในปี 2566 ภาคโลจิสติกส์ของไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยเรื่องการผ่อนปรนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก ประกอบกับการส่งออกสินค้าที่ขยายตัว รวมถึงธุรกิจ e-Commerce ที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องเพิ่มทางเศรษฐกิจในกิจกรรมโลจิสติกส์และธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ของประเทศไทยในภาพรวม
ข้อมูลจาก : สถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย รายเดือน, สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
ประเภทนิติบุคคล |
จำนวนนิติบุคคลนับตามสถานะแบบสะสม (ราย) |
มูลค่าทุนจดทะเบียนคิดตามสถานะแบบสะสม (ล้านบาท) |
ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ | 33,091 | 419,720.39 |
การขนส่งทางบกและระบบท่อลำเลียง | 24,086 | 171,432.13 |
การขนส่งทางน้ำ | 764 | 106,411.01 |
การขนส่งทางอากาศ | 250 | 33,541.74 |
การขนถ่ายสินค้า | 694 | 11,344.64 |
คลังสินค้า | 882 | 46,309.68 |
การบริหารจัดการเกี่ยวกับสินค้า | 1,719 | 30,807.89 |
ตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้า | 4,559 | 18,670.44 |
ตัวแทนออกของอื่นๆ | 137 | 1,202.87 |
ข้อมูลจาก : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ณ เดือนธันวาคม 2565
3. โอกาสของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย
1. เส้นทาง BRI เปิดโอกาสทางการค้าในภูมิภาคอาเซียน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะใน ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย เมื่อสำเร็จแบบไร้รอยต่อแล้ว จะเกิดมูลค่าเพิ่ม และกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับภูมิภาคในภาพรวมอย่างมาก โดยเฉพาะประเทศสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)
2. โลจิสติกส์สำหรับขนส่งสินค้าฮาลาล ซึ่งเป็นตลาดเฉพาะกลุ่มและมีโอกาสขยายตัวสูง ตลาดโลจิสติกส์ฮาลาล (Halal Logistics) เป็นตลาดที่มีความน่าสนใจ ซึ่งธุรกิจโลจิสติกส์เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การส่งออกของสินค้าฮาลาลไทยขยายตัว หากผู้ประกอบการไทยสามารถศึกษาการจัดการสินค้าตามหลักฮาลาล
ข้อมูลจาก : สถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย รายเดือน, สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
4. กลยุทธ์ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
- ส่งเสริมการสร้างพันธมิตรและเครือข่ายของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย
- สร้างโอกาสทางการค้าและการรับรู้ศักยภาพของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทยในระดับสากล
- พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย ให้ได้รับการรับรองคุณภาพ มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ สามารถแข่งขันและขยายธุรกิจบริการในระดับสากล
- ส่งเสริมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย
- สนับสนุนภารกิจการเชื่อมโยงการค้าสู่ E-commerce กับการขนส่งแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Logistics)
ธุรกิจโลจิสติกส์
1. ความสำคัญของโลจิสติกส์
การพัฒนาโลจิสติกส์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานที่มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ในปี ๒๕๗๙ โดยการยกระดับศักยภาพโลจิสติกส์ทั้งระบบ และเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจบริการโลจิสติกส์ ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางของโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคและภูมิภาคอาเซียน มุ่งสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูงและพร้อมเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี ๒๕๗๙ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานในภาคขนส่งที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมุ่งเน้นให้ต้นทุนระบบโลจิสติกส์ของประเทศอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ในระดับสากล
2. สถานการณ์โลจิสติกส์ไทยในปัจจุบัน
คาดว่าในปี 2566 ภาคโลจิสติกส์ของไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยเรื่องการผ่อนปรนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก ประกอบกับการส่งออกสินค้าที่ขยายตัว รวมถึงธุรกิจ e-Commerce ที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องเพิ่มทางเศรษฐกิจในกิจกรรมโลจิสติกส์และธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ของประเทศไทยในภาพรวม
ข้อมูลจาก : สถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย รายเดือน, สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
ประเภทนิติบุคคล |
จำนวนนิติบุคคลนับตามสถานะแบบสะสม (ราย) |
มูลค่าทุนจดทะเบียนคิดตามสถานะแบบสะสม (ล้านบาท) |
ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ | 33,091 | 419,720.39 |
การขนส่งทางบกและระบบท่อลำเลียง | 24,086 | 171,432.13 |
การขนส่งทางน้ำ | 764 | 106,411.01 |
การขนส่งทางอากาศ | 250 | 33,541.74 |
การขนถ่ายสินค้า | 694 | 11,344.64 |
คลังสินค้า | 882 | 46,309.68 |
การบริหารจัดการเกี่ยวกับสินค้า | 1,719 | 30,807.89 |
ตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้า | 4,559 | 18,670.44 |
ตัวแทนออกของอื่นๆ | 137 | 1,202.87 |
ข้อมูลจาก : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ณ เดือนธันวาคม 2565
3. โอกาสของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย
1. เส้นทาง BRI เปิดโอกาสทางการค้าในภูมิภาคอาเซียน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะใน ลาว เวียดนาม กัมพูชา และไทย เมื่อสำเร็จแบบไร้รอยต่อแล้ว จะเกิดมูลค่าเพิ่ม และกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับภูมิภาคในภาพรวมอย่างมาก โดยเฉพาะประเทศสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)
2. โลจิสติกส์สำหรับขนส่งสินค้าฮาลาล ซึ่งเป็นตลาดเฉพาะกลุ่มและมีโอกาสขยายตัวสูง ตลาดโลจิสติกส์ฮาลาล (Halal Logistics) เป็นตลาดที่มีความน่าสนใจ ซึ่งธุรกิจโลจิสติกส์เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การส่งออกของสินค้าฮาลาลไทยขยายตัว หากผู้ประกอบการไทยสามารถศึกษาการจัดการสินค้าตามหลักฮาลาล
ข้อมูลจาก : สถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย รายเดือน, สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
4. กลยุทธ์ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
- ส่งเสริมการสร้างพันธมิตรและเครือข่ายของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย
- สร้างโอกาสทางการค้าและการรับรู้ศักยภาพของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทยในระดับสากล
- พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย ให้ได้รับการรับรองคุณภาพ มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ สามารถแข่งขันและขยายธุรกิจบริการในระดับสากล
- ส่งเสริมการพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย
- สนับสนุนภารกิจการเชื่อมโยงการค้าสู่ E-commerce กับการขนส่งแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Logistics)