โครงการรถไฟความเร็วสูง ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)

โครงการรถไฟความเร็วสูง ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)

โครงการรถไฟความเร็วสูง ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ถือเป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ มีเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงตลาดการค้า ระหว่างกลุ่มประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางของอินโดจีน ตามแผนจะก่อสร้างทั้งหมด 4 สาย ได้แก่ สายเหนือ, สายตะวันออก, สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้
โดยรถไฟความเร็วสูง ตามแผนมีการพัฒนาทั้งหมด 4 สาย กระจายเส้นทางไปในภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ 
-สายเหนือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทางรวม 669 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูง จำนวน 12 สถานี คาดว่าจะเปิดใช้ระยะที่ 1 กรุงเทพ-พิษณุโลก ในปี 2572 และเปิดใช้ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ ในปี 2575
-สายตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทางรวม 609 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูง จำนวน 11 สถานี คาดว่าจะเปิดใช้ระยะที่ 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา ในปี 2568(69-72) และเปิดใช้ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ในปี 2573
-สายตะวันออก  เชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทางรวม 220 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูง จำนวน 9 สถานี คาดว่าจะเปิดใช้ระยะที่ 1 ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ในปี 2570(72-73) และเปิดใช้ระยะที่ 2 อู่ตะเภา-ระยอง-ตราด ในปี 2576
-สายใต้ กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ ระยะทางรวม 970 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูง จำนวน 12 สถานี คาดว่าจะเปิดใช้ระยะที่ 1 กรุงเทพ-หัวหิน ในปี 2575 และเปิดใช้ระยะที่ 2 หัวหิน-สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ในปี 2580

ที่มา การรถไฟแห่งประเทศไทย

โครงการรถไฟความเร็วสูง ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ถือเป็นโครงการเมกะโปรเจกต์ มีเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงตลาดการค้า ระหว่างกลุ่มประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางของอินโดจีน ตามแผนจะก่อสร้างทั้งหมด 4 สาย ได้แก่ สายเหนือ, สายตะวันออก, สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้
โดยรถไฟความเร็วสูง ตามแผนมีการพัฒนาทั้งหมด 4 สาย กระจายเส้นทางไปในภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ 
-สายเหนือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทางรวม 669 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูง จำนวน 12 สถานี คาดว่าจะเปิดใช้ระยะที่ 1 กรุงเทพ-พิษณุโลก ในปี 2572 และเปิดใช้ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ ในปี 2575
-สายตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทางรวม 609 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูง จำนวน 11 สถานี คาดว่าจะเปิดใช้ระยะที่ 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา ในปี 2568(69-72) และเปิดใช้ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ในปี 2573
-สายตะวันออก  เชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทางรวม 220 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูง จำนวน 9 สถานี คาดว่าจะเปิดใช้ระยะที่ 1 ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ในปี 2570(72-73) และเปิดใช้ระยะที่ 2 อู่ตะเภา-ระยอง-ตราด ในปี 2576
-สายใต้ กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ ระยะทางรวม 970 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูง จำนวน 12 สถานี คาดว่าจะเปิดใช้ระยะที่ 1 กรุงเทพ-หัวหิน ในปี 2575 และเปิดใช้ระยะที่ 2 หัวหิน-สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ในปี 2580

ที่มา การรถไฟแห่งประเทศไทย