ผลกระทบต่อประเทศไทยเมื่อโครงการท่าบก ท่านาแล้ง และ Vientiane Logistics Park หนุน สปป.ลาว สู่ประเทศศูนย์กลางเชื่อมโยงขนส่ง

ผลกระทบต่อประเทศไทยเมื่อโครงการท่าบก ท่านาแล้ง และ Vientiane Logistics Park หนุน สปป.ลาว สู่ประเทศศูนย์กลางเชื่อมโยงขนส่ง ผลกระทบต่อประเทศไทยเมื่อโครงการท่าบก ท่านาแล้ง และ Vientiane Logistics Park หนุน สปป.ลาว สู่ประเทศศูนย์กลางเชื่อมโยงขนส่ง ผลกระทบต่อประเทศไทยเมื่อโครงการท่าบก ท่านาแล้ง และ Vientiane Logistics Park หนุน สปป.ลาว สู่ประเทศศูนย์กลางเชื่อมโยงขนส่ง ผลกระทบต่อประเทศไทยเมื่อโครงการท่าบก ท่านาแล้ง และ Vientiane Logistics Park หนุน สปป.ลาว สู่ประเทศศูนย์กลางเชื่อมโยงขนส่ง
ผลกระทบต่อประเทศไทยเมื่อโครงการท่าบก ท่านาแล้ง และ Vientiane Logistics Park หนุน สปป.ลาว สู่ประเทศศูนย์กลางเชื่อมโยงขนส่ง
ผลกระทบต่อประเทศไทยเมื่อโครงการท่าบก ท่านาแล้ง และ Vientiane Logistics Park หนุน สปป.ลาว สู่ประเทศศูนย์กลางเชื่อมโยงขนส่ง
ผลกระทบต่อประเทศไทยเมื่อโครงการท่าบก ท่านาแล้ง และ Vientiane Logistics Park หนุน สปป.ลาว สู่ประเทศศูนย์กลางเชื่อมโยงขนส่ง
ผลกระทบต่อประเทศไทยเมื่อโครงการท่าบก ท่านาแล้ง และ Vientiane Logistics Park หนุน สปป.ลาว สู่ประเทศศูนย์กลางเชื่อมโยงขนส่ง

     การก่อสร้างท่าบกท่านาแล้ง (TDP) ภายใน Vientiane Logistics Park (VLP) การก่อสร้างและการเปิดบริการรถไฟลาว-จีน มีกำหนดเปิดบริการภายในเดือนธันวาคม 2564 นี้ จะส่งผลให้การขนส่งสินผ่านแดน และขนส่งสินค้าชายแดน รถขนส่งสินค้าและรถไฟขนส่งสินค้าที่ข้ามจากฝั่งไทย จะต้องเข้ามาใช้บริการทางศุลกากร การเปลี่ยนถ่ายสินค้า รวมถึงเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าจากทางรถเป็นทางราง เป็นต้น ภายในบริเวณท่าบกท่านาแล้งทั้งหมด ซึ่งจากการลงพื้นที่หาข้อมูลทราบว่า การก่อสร้างมีความคืบหน้า และมีการเตรียมความพร้อมพื้นที่เพื่อรองรับการให้บริการดังกล่าวได้ในปลายปีนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า สปป.ลาว ได้ให้การสนับสนุนโครงการดังกล่าวในการเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการขนส่งทางบกไปยังประเทศข้างเคียงต่างๆ ตามนโยบาย Lao Land Link (LLL) ซึ่งฝ่ายไทยควรเข้ามาใช้ประโยชน์ขนถ่ายสินค้าในบริเวณดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นมาในเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งจะเป็นการสมประโยชน์ร่วมกันทั้ง 2 ฝ่ายระหว่างไทยกับ สปป.ลาว ในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งด้านศุลกากร รวมถึงการใช้ขนส่งสินค้าผ่านรถไฟลาว-จีน อาทิเช่น สินค้าเกษตร สินค้าประมง สินค้าปศุสัตว์ และสินค้าอื่นๆ เป็นต้น ทั้งนี้ในทางกลับกันสินค้าจากประเทศจีน ก็จะถูกขนส่งสินค้าลงมายังท่าบกท่านาแล้ง (TDP) เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพื่อกระจายสู่ภูมิภาคอาเซียนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

แนวทางการปรับตัวของภาครัฐ/เอกชน/ผู้ประกอบการไทย

1) ล่าสุด ทางกงสุลฝ่ายเกษตร ณ เมืองกวางโจว แจ้งว่า เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564 ฝ่ายไทยและจีน ได้มีการลงนามในพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ไทยผ่านประเทศที่สามสู่ สป.จีน ขยายด่านนำเข้า-ส่งออก รวมเป็น 16 ด่าน โดยเป็นด่านของไทย 6 ด่าน (เชียงของ มุกดาหาร นครพนม บ้านผักกาด บึงกาฬ หนองคาย) และด่านของจีน 10 ด่าน (โหย่วอี้กว่าน โม่ฮาน ตงซิง ด่านรถไฟผิงเสียง ด่านรถไฟโม่ฮาน เหอโข่ว ด่านรถไฟเหอโข่ว หลงปัง เทียนเป่า และสุยโข่ว) ทั้งนี้ ด่านที่เปิดเพิ่มมานั้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเจ้าหน้าที่แต่ละฝ่าย ต้องติดตามความพร้อมแต่ละด่านต่อไป จากการแก้ไขพิธีสารดังกล่าว ทำให้จังหวัดหนองคาย เป็นจังหวัดล่าสุดของไทย ที่สามารถขึ้นเป็นด่านส่งออกผลไม้ 22 ชนิดของไทยไปยัง สป.จีนได้

2) สำหรับภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงเกษตร กรมศุลกากร กรมขนส่งทางราง และอื่นๆ ก็ได้เตรียมการที่เกี่ยวข้องแล้ว ในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการส่งออก ในการขนส่งสินค้าผ่านแดนทั้งทางถนนและทางรถไฟ เป็นต้น

3) สำหรับภาคเอกชน ทั้งผู้ที่ขนส่งสินค้าชายแดนหรือขนส่งสินค้าทางรถไฟ ควรติดตามสถานการณ์การให้บริการของท่าบกท่านาแล้ง ในการเปลี่ยนจุดขนถ่ายสินค้าจากเดิมใน สปป.ลาว รวมถึงการเชื่อมโยงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่กำลังจะเกิดขึ้น ณ ท่าบกท่านาแล้งต่อไปอย่างใกล้ชิด

 

บทความโดย
นายกวิน วิริยพานิชย์
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เวียงจันทน์

     การก่อสร้างท่าบกท่านาแล้ง (TDP) ภายใน Vientiane Logistics Park (VLP) การก่อสร้างและการเปิดบริการรถไฟลาว-จีน มีกำหนดเปิดบริการภายในเดือนธันวาคม 2564 นี้ จะส่งผลให้การขนส่งสินผ่านแดน และขนส่งสินค้าชายแดน รถขนส่งสินค้าและรถไฟขนส่งสินค้าที่ข้ามจากฝั่งไทย จะต้องเข้ามาใช้บริการทางศุลกากร การเปลี่ยนถ่ายสินค้า รวมถึงเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าจากทางรถเป็นทางราง เป็นต้น ภายในบริเวณท่าบกท่านาแล้งทั้งหมด ซึ่งจากการลงพื้นที่หาข้อมูลทราบว่า การก่อสร้างมีความคืบหน้า และมีการเตรียมความพร้อมพื้นที่เพื่อรองรับการให้บริการดังกล่าวได้ในปลายปีนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า สปป.ลาว ได้ให้การสนับสนุนโครงการดังกล่าวในการเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการขนส่งทางบกไปยังประเทศข้างเคียงต่างๆ ตามนโยบาย Lao Land Link (LLL) ซึ่งฝ่ายไทยควรเข้ามาใช้ประโยชน์ขนถ่ายสินค้าในบริเวณดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นมาในเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งจะเป็นการสมประโยชน์ร่วมกันทั้ง 2 ฝ่ายระหว่างไทยกับ สปป.ลาว ในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งด้านศุลกากร รวมถึงการใช้ขนส่งสินค้าผ่านรถไฟลาว-จีน อาทิเช่น สินค้าเกษตร สินค้าประมง สินค้าปศุสัตว์ และสินค้าอื่นๆ เป็นต้น ทั้งนี้ในทางกลับกันสินค้าจากประเทศจีน ก็จะถูกขนส่งสินค้าลงมายังท่าบกท่านาแล้ง (TDP) เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพื่อกระจายสู่ภูมิภาคอาเซียนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

แนวทางการปรับตัวของภาครัฐ/เอกชน/ผู้ประกอบการไทย

1) ล่าสุด ทางกงสุลฝ่ายเกษตร ณ เมืองกวางโจว แจ้งว่า เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564 ฝ่ายไทยและจีน ได้มีการลงนามในพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ไทยผ่านประเทศที่สามสู่ สป.จีน ขยายด่านนำเข้า-ส่งออก รวมเป็น 16 ด่าน โดยเป็นด่านของไทย 6 ด่าน (เชียงของ มุกดาหาร นครพนม บ้านผักกาด บึงกาฬ หนองคาย) และด่านของจีน 10 ด่าน (โหย่วอี้กว่าน โม่ฮาน ตงซิง ด่านรถไฟผิงเสียง ด่านรถไฟโม่ฮาน เหอโข่ว ด่านรถไฟเหอโข่ว หลงปัง เทียนเป่า และสุยโข่ว) ทั้งนี้ ด่านที่เปิดเพิ่มมานั้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเจ้าหน้าที่แต่ละฝ่าย ต้องติดตามความพร้อมแต่ละด่านต่อไป จากการแก้ไขพิธีสารดังกล่าว ทำให้จังหวัดหนองคาย เป็นจังหวัดล่าสุดของไทย ที่สามารถขึ้นเป็นด่านส่งออกผลไม้ 22 ชนิดของไทยไปยัง สป.จีนได้

2) สำหรับภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงเกษตร กรมศุลกากร กรมขนส่งทางราง และอื่นๆ ก็ได้เตรียมการที่เกี่ยวข้องแล้ว ในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการส่งออก ในการขนส่งสินค้าผ่านแดนทั้งทางถนนและทางรถไฟ เป็นต้น

3) สำหรับภาคเอกชน ทั้งผู้ที่ขนส่งสินค้าชายแดนหรือขนส่งสินค้าทางรถไฟ ควรติดตามสถานการณ์การให้บริการของท่าบกท่านาแล้ง ในการเปลี่ยนจุดขนถ่ายสินค้าจากเดิมใน สปป.ลาว รวมถึงการเชื่อมโยงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่กำลังจะเกิดขึ้น ณ ท่าบกท่านาแล้งต่อไปอย่างใกล้ชิด

 

บทความโดย
นายกวิน วิริยพานิชย์
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เวียงจันทน์