DITP ขานรับนโยบายรองนายกฯ จุรินทร์เร่งส่งออกเชิงรุก สนับสนุนผู้ประกอบการขยายตลาดต่างประเทศครบทุกมิติฝ่าวิกฤตไวรัสโควิด-19


นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ขยายวงกว้างและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างยิ่งและมีนโยบายให้กรมสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้รับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวในทุกมิติ เร่งรัดจัดกิจกรรมผลักดันการส่งออกเชิงรุก รวมทั้งใช้โอกาสดังกล่าวเป็นกลไกสำคัญในการฟื้นตลาดและสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการส่งออกไทย “เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจึงได้ปรับรูปแบบกิจกรรมต่างๆ ทั้งในด้านการให้บริการข้อมูลที่ทันต่อสถานการณ์ การพัฒนาศักยภาพและการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ประกอบการ การปรับรูปแบบกิจกรรมเจรจาการค้า และการสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจกับต่างประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นี้” อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกล่าว


           ด้านการให้บริการข้อมูลที่ทันต่อสถานการณ์ นายพรวิช ศิลาอ่อน ผู้อำนวยการสำนักสารสนเทศและการบริการการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า เพื่อให้สามารถติดตามสถานการณ์ ข่าวสารความเคลื่อนไหวได้ทันท่วงที โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ กรมได้จัดทำ “ศูนย์ข้อมูลสถานการณ์การค้าจากผลกระทบของโควิด-19” บนเว็บไซต์กรม “www.ditp.go.th” ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศหรือทูตพาณิชย์ทั้ง 58 แห่งทั่วโลกที่ติดตามอย่างใกล้ชิดและรายงานสถานการณ์/มาตรการต่างๆ อันมีผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประเทศคู่ค้าเป็นรายวัน โดยแบ่งเป็น 2 หมวดหมู่ คือ ด้านข้อมูลและด้านกิจกรรม ด้านข้อมูลประกอบด้วยหัวข้อ “Early warning” รายงานสถานการณ์เปิด-ปิดด่านขนส่งสินค้าและมาตรการเร่งด่วนด้านการค้าของแต่ละประเทศ และหัวข้อ “เกาะติดสถานการณ์” เป็นการรายงานข้อมูลด้านการค้า ด้านการตลาดภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ของแต่ละประเทศทั่วโลก และด้านกิจกรรมซึ่งเป็นการรวบรวมกิจกรรมออนไลน์ต่างๆ ที่กรมได้ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการดำเนินชีวิตภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ทั้งในส่วนของการอบรมสัมมนาออนไลน์ การจัดงานแสดงสินค้าเสมือนจริง การจับคู่เจรจาธุรกิจออนไลน์ เป็นต้น นอกจากนี้ กรมยังมีบริการ “DITP Touch” การให้คำปรึกษาการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศแบบออนไลน์ ผ่าน 2 ช่องทาง คือ ผ่านแอปพลิเคชั่น DITP Touch บนโทรศัพท์มือถือ และผ่านทางเว็บไซต์ www.ditptouch.com ที่ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงการบริการของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้เช่นเดิม


           การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SMEs นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือ NEA ให้ข้อมูลว่า NEA ได้จัดทำระบบแพลตฟอร์ม “NEA E-Learning Universe” ภายใต้แนวคิด “ตั้งรับ ปรับตัว หาโอกาส” โดยมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการสามารถเรียนง่ายได้ทุกที่ ทั้งผ่านระบบอีเลิร์นนิ่งด้วยช่องทางเว็บไซต์ของสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการค้ายุคใหม่ www.nea.ditp.go.th ซึ่งมีหลากหลายหลักสูตรครอบคลุมตั้งแต่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการส่งออก กลยุทธ์การค้ายุคใหม่ การแบ่งปันความรู้จากกูรูที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ จนถึงการเจาะลึกด้านการค้าเป็นรายประเทศ รวมกว่า 20 หลักสูตร รวมทั้งได้ปรับโฉมการจัดอบรมสัมมนาที่เคยจัดในลักษณะห้องเรียน (Offline) มาเป็นรูปแบบสัมมนาออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook Live และ Webinar Class เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดและลงทะเบียนได้ทางเว็บไซต์ www.nea.ditp.go.th และผ่านทางเฟซบุ๊คเพจสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการค้ายุคใหม่ https://www.facebook.com/nea.ditp/ ด้วยช่องทางเหล่านี้ผู้ประกอบการจะได้รับความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพ และสร้างความพร้อมสู่การทำตลาดต่างประเทศได้ต่อไป


           ในส่วนของการเจรจาการค้า นายฉันทพัทธ์ ปัญจมานนท์ ผู้อำนวยการสำนักตลาดพาณิชย์ดิจิทัล รายงานว่า กรมมีการจัดกิจกรรมเจรจาธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ (Tele-Conference / Online Matching) ระหว่างผู้ส่งออกไทยกับผู้นำเข้าในต่างประเทศ และระหว่างแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ของไทยและต่างประเทศกับผู้ส่งออกไทยในกลุ่มสินค้าศักยภาพต่างๆ เช่น ผลไม้ (เกาหลีใต้) (เม.ย. 63) อาหาร แฟชั่น สุขภาพความงาม และของประดับตกแต่งบ้าน (แพลตฟอร์มคลัง.คอม / กัมพูชา) (เม.ย. 63) อาหาร (แพลตฟอร์มtmall.com / จีน) (พ.ค. 63) ชิ้นส่วนยานยนต์ (เกาหลีใต้) (พ.ค. 63) อาหาร (แพลตฟอร์มamazon.com / สหรัฐฯ) (พ.ค. 63) อาหาร (มาเลเซีย) (พ.ค. 63) อาหาร (แพลตฟอร์มbigbasket / อินเดีย) (มิ.ย. 63) อาหาร สปา และรองเท้า (อินเดีย) (มิ.ย. 63) เป็นต้น โดยจะประสานงานนัดหมายผู้ซื้อผู้นำเข้าต่างประเทศผ่านทูตพาณิชย์ และนัดหมายผู้ส่งออกไทยที่ผลิตสินค้าตรงตามความต้องการของผู้ซื้อ ให้สามารถเจรจาการค้าผ่านช่องทาง Tele-Conference ซึ่งกรมได้จัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ และเจ้าหน้าที่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ส่งออกไทยในการเจรจาการค้าออนไลน์ ทั้งนี้หากผู้ประกอบการไม่สะดวกเดินทางมาใช้บริการที่กรม สามารถเข้าร่วมกิจกรรมผ่านระบบ Zoom จากสำนักงานหรือที่พักของผู้ประกอบการได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ กรมยังมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการขายร่วมกับแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อสร้างให้เกิดความต้องการสินค้าไทยเพิ่มมากขึ้นในตลาดต่างประเทศ


           นางอารดา เฟื่องทอง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจบริการ กล่าวว่า กรมจะจัดงานแสดงสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เสมือนจริง (Online Virtual Exhibition) ซึ่งนับเป็นกิจกรรม Pioneer เพื่อส่งเสริมการซื้อขายในรูปแบบใหม่ที่ครบวงจรครั้งแรก โดยโครงการนำร่องที่จะมีในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2563 นี้ ได้แก่ โครงการ Multimedia Online Virtual Exhibition หรือ M.O.V.E. เป็นงานแสดงสินค้าและบริการด้านธุรกิจดิจิทัลคอนเทนท์ มีผู้ประกอบการด้านภาพยนตร์ แอนิเมชั่น เกม คาแรกเตอร์ และมัลติมีเดียอื่นๆ ของไทยเข้าร่วมถึงกว่า 50 บริษัท ในส่วนของนักธุรกิจ ผู้ซื้อ ผู้นำเข้า ได้มอบหมายให้ทูตพาณิชย์ทั่วโลกประชาสัมพันธ์เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมงาน ภายใต้แพลตฟอร์มนี้นอกจากผู้ประกอบการไทยและผู้ซื้อต่างประเทศสามารถเจรจาซื้อขายกันได้จริงแล้ว ยังมี Movie Showcase ซึ่งรวบรวมผลงานภาพยนตร์จากผู้ประกอบการไทยมาจัดแสดง รวมทั้งมีกิจกรรมการเสวนาเพื่อเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการดิจิทัลคอนเทนต์ของไทยผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านแอนิเมชั่นระดับโลกมาเป็นวิทยากรในการบรรยายครั้งนี้ งาน M.O.V.E. มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 – 27 พฤษภาคม 2563 ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าชมได้ทางเว็บไซต์ www.move.ditp.go.th ทั้งนี้ งานแสดงสินค้าออนไลน์ที่กรมวางแผนจะจัดขึ้น ได้แก่ งาน THAIFEX : Virtual Trade Fair (VTF) ซึ่งจะเป็นงานแสดงสินค้าออนไลน์ที่เกี่ยวกับสินค้าอาหาร และงาน Lifestyle Online Virtual Exhibition หรืองาน L.O.V.E. ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวกับสินค้าไลฟ์สไตล์และสินค้าแฟชั่นอีกด้วย


           สำหรับสินค้าที่มีโอกาสในการส่งออกในช่วงสถานการณ์นี้ ทูตพาณิชย์ได้รายงานสินค้าหลายรายการ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิและข้าวหอมไทย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากความต้องการนำเข้าข้าวในลักษณะคำสั่งซื้อล่วงหน้าในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ เป็นต้น สินค้าอาหาร โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูป/พร้อมรับประทาน ปลาทูน่ากระป๋องและผักผลไม้กระป๋อง ซึ่งมีความต้องการและยอดสั่งซื้อสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นในเกือบทุกประเภท สินค้าประเภทวัตถุดิบ เช่น ผ้าผืน เส้นใยประดิษฐ์ ที่สามารถส่งออกไปยังประเทศฐานการผลิตเครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ เวียดนาม เมียนมา บังคลาเทศ กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และอินเดีย เพื่อทดแทนการนำเข้าจากแหล่งเดิม อุปกรณ์/เครื่องมือที่ใช้ในทางการแพทย์/สินค้าเพื่อสุขอนามัย เช่น ถุงมือยางแบบบางสำหรับแพ็คสินค้า บรรจุภัณฑ์/กล่องอาหารสำหรับ Food Delivery น้ำยาทำความสะอาด เป็นต้น และยังมีสินค้าที่ตอบสนองการใช้ชีวิตภายในบ้าน เช่น เครื่องเล่นเกม สื่อออนไลน์เพื่อความบันเทิงภายในที่พัก (เกม ละคร ภาพยนตร์ไทย การ์ตูนแอนิเมชั่น) และอุปกรณ์สำหรับออกกำลังกายในบ้าน เป็นต้น


อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกล่าวในตอนท้ายว่า “รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานของกรมทั้งในประเทศและต่างประเทศเดินหน้าทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยได้รับผลกระทบให้น้อยที่สุด ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการควรติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถรับมือและปรับกลยุทธ์การทำงานและบริหารจัดการได้ทันต่อเหตุการณ์”


           ผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ต่างๆ ของกรม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ทางเว็บไซต์กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ www.ditp.go.th สายตรงการค้าระหว่างประเทศ 1169 หรือผ่านแอปพลิเคชั่น “DITP Touch”
 

ที่มา: https://gnews.apps.go.th/news?news=59736

 

นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ขยายวงกว้างและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างยิ่งและมีนโยบายให้กรมสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้รับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวในทุกมิติ เร่งรัดจัดกิจกรรมผลักดันการส่งออกเชิงรุก รวมทั้งใช้โอกาสดังกล่าวเป็นกลไกสำคัญในการฟื้นตลาดและสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการส่งออกไทย “เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจึงได้ปรับรูปแบบกิจกรรมต่างๆ ทั้งในด้านการให้บริการข้อมูลที่ทันต่อสถานการณ์ การพัฒนาศักยภาพและการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ประกอบการ การปรับรูปแบบกิจกรรมเจรจาการค้า และการสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจกับต่างประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นี้” อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกล่าว


           ด้านการให้บริการข้อมูลที่ทันต่อสถานการณ์ นายพรวิช ศิลาอ่อน ผู้อำนวยการสำนักสารสนเทศและการบริการการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า เพื่อให้สามารถติดตามสถานการณ์ ข่าวสารความเคลื่อนไหวได้ทันท่วงที โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ กรมได้จัดทำ “ศูนย์ข้อมูลสถานการณ์การค้าจากผลกระทบของโควิด-19” บนเว็บไซต์กรม “www.ditp.go.th” ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศหรือทูตพาณิชย์ทั้ง 58 แห่งทั่วโลกที่ติดตามอย่างใกล้ชิดและรายงานสถานการณ์/มาตรการต่างๆ อันมีผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประเทศคู่ค้าเป็นรายวัน โดยแบ่งเป็น 2 หมวดหมู่ คือ ด้านข้อมูลและด้านกิจกรรม ด้านข้อมูลประกอบด้วยหัวข้อ “Early warning” รายงานสถานการณ์เปิด-ปิดด่านขนส่งสินค้าและมาตรการเร่งด่วนด้านการค้าของแต่ละประเทศ และหัวข้อ “เกาะติดสถานการณ์” เป็นการรายงานข้อมูลด้านการค้า ด้านการตลาดภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ของแต่ละประเทศทั่วโลก และด้านกิจกรรมซึ่งเป็นการรวบรวมกิจกรรมออนไลน์ต่างๆ ที่กรมได้ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการดำเนินชีวิตภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ทั้งในส่วนของการอบรมสัมมนาออนไลน์ การจัดงานแสดงสินค้าเสมือนจริง การจับคู่เจรจาธุรกิจออนไลน์ เป็นต้น นอกจากนี้ กรมยังมีบริการ “DITP Touch” การให้คำปรึกษาการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศแบบออนไลน์ ผ่าน 2 ช่องทาง คือ ผ่านแอปพลิเคชั่น DITP Touch บนโทรศัพท์มือถือ และผ่านทางเว็บไซต์ www.ditptouch.com ที่ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงการบริการของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้เช่นเดิม


           การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SMEs นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือ NEA ให้ข้อมูลว่า NEA ได้จัดทำระบบแพลตฟอร์ม “NEA E-Learning Universe” ภายใต้แนวคิด “ตั้งรับ ปรับตัว หาโอกาส” โดยมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการสามารถเรียนง่ายได้ทุกที่ ทั้งผ่านระบบอีเลิร์นนิ่งด้วยช่องทางเว็บไซต์ของสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการค้ายุคใหม่ www.nea.ditp.go.th ซึ่งมีหลากหลายหลักสูตรครอบคลุมตั้งแต่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการส่งออก กลยุทธ์การค้ายุคใหม่ การแบ่งปันความรู้จากกูรูที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ จนถึงการเจาะลึกด้านการค้าเป็นรายประเทศ รวมกว่า 20 หลักสูตร รวมทั้งได้ปรับโฉมการจัดอบรมสัมมนาที่เคยจัดในลักษณะห้องเรียน (Offline) มาเป็นรูปแบบสัมมนาออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook Live และ Webinar Class เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดและลงทะเบียนได้ทางเว็บไซต์ www.nea.ditp.go.th และผ่านทางเฟซบุ๊คเพจสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการค้ายุคใหม่ https://www.facebook.com/nea.ditp/ ด้วยช่องทางเหล่านี้ผู้ประกอบการจะได้รับความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพ และสร้างความพร้อมสู่การทำตลาดต่างประเทศได้ต่อไป


           ในส่วนของการเจรจาการค้า นายฉันทพัทธ์ ปัญจมานนท์ ผู้อำนวยการสำนักตลาดพาณิชย์ดิจิทัล รายงานว่า กรมมีการจัดกิจกรรมเจรจาธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ (Tele-Conference / Online Matching) ระหว่างผู้ส่งออกไทยกับผู้นำเข้าในต่างประเทศ และระหว่างแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ของไทยและต่างประเทศกับผู้ส่งออกไทยในกลุ่มสินค้าศักยภาพต่างๆ เช่น ผลไม้ (เกาหลีใต้) (เม.ย. 63) อาหาร แฟชั่น สุขภาพความงาม และของประดับตกแต่งบ้าน (แพลตฟอร์มคลัง.คอม / กัมพูชา) (เม.ย. 63) อาหาร (แพลตฟอร์มtmall.com / จีน) (พ.ค. 63) ชิ้นส่วนยานยนต์ (เกาหลีใต้) (พ.ค. 63) อาหาร (แพลตฟอร์มamazon.com / สหรัฐฯ) (พ.ค. 63) อาหาร (มาเลเซีย) (พ.ค. 63) อาหาร (แพลตฟอร์มbigbasket / อินเดีย) (มิ.ย. 63) อาหาร สปา และรองเท้า (อินเดีย) (มิ.ย. 63) เป็นต้น โดยจะประสานงานนัดหมายผู้ซื้อผู้นำเข้าต่างประเทศผ่านทูตพาณิชย์ และนัดหมายผู้ส่งออกไทยที่ผลิตสินค้าตรงตามความต้องการของผู้ซื้อ ให้สามารถเจรจาการค้าผ่านช่องทาง Tele-Conference ซึ่งกรมได้จัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ และเจ้าหน้าที่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ส่งออกไทยในการเจรจาการค้าออนไลน์ ทั้งนี้หากผู้ประกอบการไม่สะดวกเดินทางมาใช้บริการที่กรม สามารถเข้าร่วมกิจกรรมผ่านระบบ Zoom จากสำนักงานหรือที่พักของผู้ประกอบการได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ กรมยังมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการขายร่วมกับแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อสร้างให้เกิดความต้องการสินค้าไทยเพิ่มมากขึ้นในตลาดต่างประเทศ


           นางอารดา เฟื่องทอง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจบริการ กล่าวว่า กรมจะจัดงานแสดงสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เสมือนจริง (Online Virtual Exhibition) ซึ่งนับเป็นกิจกรรม Pioneer เพื่อส่งเสริมการซื้อขายในรูปแบบใหม่ที่ครบวงจรครั้งแรก โดยโครงการนำร่องที่จะมีในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2563 นี้ ได้แก่ โครงการ Multimedia Online Virtual Exhibition หรือ M.O.V.E. เป็นงานแสดงสินค้าและบริการด้านธุรกิจดิจิทัลคอนเทนท์ มีผู้ประกอบการด้านภาพยนตร์ แอนิเมชั่น เกม คาแรกเตอร์ และมัลติมีเดียอื่นๆ ของไทยเข้าร่วมถึงกว่า 50 บริษัท ในส่วนของนักธุรกิจ ผู้ซื้อ ผู้นำเข้า ได้มอบหมายให้ทูตพาณิชย์ทั่วโลกประชาสัมพันธ์เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมงาน ภายใต้แพลตฟอร์มนี้นอกจากผู้ประกอบการไทยและผู้ซื้อต่างประเทศสามารถเจรจาซื้อขายกันได้จริงแล้ว ยังมี Movie Showcase ซึ่งรวบรวมผลงานภาพยนตร์จากผู้ประกอบการไทยมาจัดแสดง รวมทั้งมีกิจกรรมการเสวนาเพื่อเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการดิจิทัลคอนเทนต์ของไทยผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านแอนิเมชั่นระดับโลกมาเป็นวิทยากรในการบรรยายครั้งนี้ งาน M.O.V.E. มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 – 27 พฤษภาคม 2563 ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าชมได้ทางเว็บไซต์ www.move.ditp.go.th ทั้งนี้ งานแสดงสินค้าออนไลน์ที่กรมวางแผนจะจัดขึ้น ได้แก่ งาน THAIFEX : Virtual Trade Fair (VTF) ซึ่งจะเป็นงานแสดงสินค้าออนไลน์ที่เกี่ยวกับสินค้าอาหาร และงาน Lifestyle Online Virtual Exhibition หรืองาน L.O.V.E. ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวกับสินค้าไลฟ์สไตล์และสินค้าแฟชั่นอีกด้วย


           สำหรับสินค้าที่มีโอกาสในการส่งออกในช่วงสถานการณ์นี้ ทูตพาณิชย์ได้รายงานสินค้าหลายรายการ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิและข้าวหอมไทย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากความต้องการนำเข้าข้าวในลักษณะคำสั่งซื้อล่วงหน้าในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ เป็นต้น สินค้าอาหาร โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูป/พร้อมรับประทาน ปลาทูน่ากระป๋องและผักผลไม้กระป๋อง ซึ่งมีความต้องการและยอดสั่งซื้อสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นในเกือบทุกประเภท สินค้าประเภทวัตถุดิบ เช่น ผ้าผืน เส้นใยประดิษฐ์ ที่สามารถส่งออกไปยังประเทศฐานการผลิตเครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ เวียดนาม เมียนมา บังคลาเทศ กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และอินเดีย เพื่อทดแทนการนำเข้าจากแหล่งเดิม อุปกรณ์/เครื่องมือที่ใช้ในทางการแพทย์/สินค้าเพื่อสุขอนามัย เช่น ถุงมือยางแบบบางสำหรับแพ็คสินค้า บรรจุภัณฑ์/กล่องอาหารสำหรับ Food Delivery น้ำยาทำความสะอาด เป็นต้น และยังมีสินค้าที่ตอบสนองการใช้ชีวิตภายในบ้าน เช่น เครื่องเล่นเกม สื่อออนไลน์เพื่อความบันเทิงภายในที่พัก (เกม ละคร ภาพยนตร์ไทย การ์ตูนแอนิเมชั่น) และอุปกรณ์สำหรับออกกำลังกายในบ้าน เป็นต้น


อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกล่าวในตอนท้ายว่า “รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานของกรมทั้งในประเทศและต่างประเทศเดินหน้าทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยได้รับผลกระทบให้น้อยที่สุด ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการควรติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถรับมือและปรับกลยุทธ์การทำงานและบริหารจัดการได้ทันต่อเหตุการณ์”


           ผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ต่างๆ ของกรม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ทางเว็บไซต์กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ www.ditp.go.th สายตรงการค้าระหว่างประเทศ 1169 หรือผ่านแอปพลิเคชั่น “DITP Touch”
 

ที่มา: https://gnews.apps.go.th/news?news=59736