พลิกวิกฤติ COVID-19 ดันสั่งซื้อออนไลน์โต 80%


จากวิกฤติไวรัสโควิด-19 ที่เวลานี้ยังแผงฤทธิ์ไล่คุกคามและลามแพร่เชื้อระบาดหนักไปทั่วโลก จำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตพุ่งสูงต่อเนื่อง ส่งผลกระทบซ้ำเติมเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของแต่ละประเทศทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กลายเป็นวิกฤติที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องงัดมาตรการเร่งด่วนเพื่อปราบพยศข้าศึกอย่างไวรัสโควิด-19 ให้อยู่หมัด

ทุกวิกฤติย่อมมีโอกาสเสมอ แม้เกือบทุกธุรกิจอาจได้รับกระทบจากวิกฤติไวรัสโควิด-19 แต่ก็ยังมีอีกหลายธุรกิจที่ได้อานิสงส์เช่นกัน เช่นธรุกิจการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่เติบโตสวนกระแสธุรกิจอื่นๆ ว่ากันว่าอัตราการเติบโตพุ่งกว่า 80 %

ในเรื่องนี้นอสตร้า โลจิสติกส์ ชี้พฤติกรรมผู้บริโภคเลี่ยงแหล่งช้อปปิ้งแออัดหันสั่งสินค้าออนไลน์แทน แนะธุรกิจขนส่งเตรียมรับมือใช้เทคโนโลยีจัดการ-ติดตามการขนส่งแบบเรียลไทม์ พร้อมกำหนดพิกัดอาณาเขตพื้นที่เสี่ยงบนแผนที่ (Geofence) รับมือการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น เพื่อบริหารการจัดส่งสินค้า เพิ่มความมั่นใจแก่ผู้รับสินค้าทุกการจัดส่งกรณีเกิดปัญหากับเส้นทางจัดส่งสามารถติดตามข้อมูลเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที

ผู้บริโภคเลี่ยงแหล่งช้อปปิ้งหันสั่งออกไลน์แทน 

นางวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่าจากสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่กำลังระบาดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มหลีกเลี่ยงแหล่งช้อปปิ้งที่มีผู้คนแออัดและใช้บริการจัดส่งแทน โดยสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ทำให้เกิดปริมาณการสั่งซื้อและการจัดส่งสินค้าเพิ่มขึ้นมากกว่าในเวลาปกติอย่างมาก สอดคล้องกับผลสำรวจของกสทช.ที่ระบุจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจากผู้ใช้งาน แอพฯ ของสำนักงานกสทช. จำนวน 2,554 คน พบว่า เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ประชาชนมีการสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นจากเดือนมกราคม 2563 เกินกว่า 80% โดยสัดส่วนที่โตขึ้นมาจากพฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น

“ภายใต้วิกฤติดังกล่าวที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อปัจจัยบวกที่ถือว่าเป็นโอกาสต่อวงการโลจิสติกส์และการขนส่ง จากพฤติกรรมผู้บริโภคหันไปเลือกสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ การบริการจัดส่งด่วนมีแนวโน้มกลายเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคสูงขึ้นมาก นับเป็นโอกาสและความท้าทายของทั้งผู้ค้ารายใหญ่ รายย่อย และธุรกิจขนส่งที่จะเตรียมความพร้อมรับมือทั้งในเรื่องปริมาณการจัดส่งสินค้าจากระบบออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในการรับบริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง และปลอดภัย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งสินค้าจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือในการจัดการและวางแผนการจัดส่งสินค้าที่ดี เพื่อให้การกระจายสินค้าในแต่ละวันเป็นไปอย่างราบรื่น”

แนะผู้ขนส่งใช้เทคโนฯจัดการ-ติดตามการขนส่ง

นางวรินทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางด้านเทคโนโลยีระบบบริหารจัดการและติดตามการขนส่ง “นอสตร้าโลจิสติกส์” พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยผู้ประกอบการขนส่งรับมือการขนส่งในระหว่างเกิดสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 แบบตรงจุด ด้วยความสามารถในการจัดการออเดอร์และเส้นทางจัดส่ง เช่น การจัดเส้นทางส่งสินค้าแบบรองรับการส่งสินค้าหลายจุด หรือ Route Optimization for Multidrop ซึ่งระบบสามารถกำหนดจุดส่งสินค้าโดยให้ลำดับการส่งก่อน-หลัง และแนะนำเส้นทางที่สั้นที่สุดตลอดเส้นทางขนส่ง เพื่อประหยัดเวลาในการเดินทางและค่าใช้จ่ายมากที่สุด

“เมื่อกำหนดเส้นทางจัดส่งสำหรับรถแต่คันเรียบร้อย ยังสามารถทำการติดตามแผนการจัดส่ง เพื่อตรวจสอบข้อมูลการเดินทางของรถขนส่ง โดยระบบสามารถเห็นทั้งระยะทางและระยะเวลาที่จะเข้าถึงในแต่ละจุดส่งด้วยการคำนวณแบบเรียลไทม์ โดยในกรณีที่เห็นว่าการจัดส่งสินค้าอาจจะไม่เป็นไปตามแผน ผู้ดูแลสามารถใช้ข้อมูลการติดตามรถนี้เพื่อการตัดสินใจปรับแผนจัดส่งได้ทันที เช่น การแจ้งขยายเวลาการเข้าถึงจุดส่งสินค้า การเลื่อนหรือยกเลิกจุดจัดส่งสินค้า โดยสามารถสื่อสารกับผู้ขับรถให้ดำเนินการอย่างไร ตลอดจนแจ้งลูกค้าให้ทราบล่วงหน้า เพื่อรับทราบข้อมูลการจัดส่งซึ่งจะเป็นการสร้างความพึงพอใจในการบริการที่ดีได้เป็นอย่างมาก”

นางวรินทร ย้ำว่ากรณีที่การเกิดโรคระบาดส่งผลให้หลายพื้นที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ผู้ใช้งานสามารถกำหนดพิกัดอาณาเขตพื้นที่บนแผนที่ ซึ่งหมายรวมถึงพื้นที่อันตราย พื้นที่ห้ามเข้า พื้นที่กักกันการระบาด พื้นที่เสี่ยง พื้นที่ที่มีการรายงานพบผู้ป่วย หรืออื่น ๆ ที่เรียกว่า Geofence โดยกำหนดเป็นจุดพิกัด หรือตีกรอบพื้นที่และจัดแยกเป็นกลุ่มหมวดหมู่  ระบบจะหลีกเลี่ยงเส้นทางการขับรถในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว และแจ้งเตือนหากเข้าใกล้พื้นที่ดังกล่าวด้วย

“ที่สำคัญสามารถตรวจสอบย้อนกลับข้อมูลเส้นทางจัดส่งสินค้า หรือ Trace on Cloud โดยตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังการจัดส่งได้ทุกจุด ว่ารถขนส่งได้วิ่งผ่านในเส้นทางใด และแวะส่งสินค้าที่จุดใดบ้าง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้รับสินค้าทุกการจัดส่ง  หรือในกรณีที่เกิดปัญหากับเส้นทางการจัดส่งนั้นก็สามารถติดตามข้อมูลเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว”

ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันฝ่าวิกฤติครั้งนี้

นางวรินทร สรุปปิดท้ายว่าในส่วนผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ ก็ควรจะมีมาตรการป้องกันเตรียมพร้อม โดยเตรียมแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งระยะสั้นและระยะยาว และเตรียมข้อมูลเพื่อการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่ถูกต้อง เพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อโรคระบาดสำหรับพนักงานของบริษัทฯตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข เช่น การตรวจคัดกรองอุณหภูมิก่อนเข้าพื้นที่ทำงาน การใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือ การกักตัว 14 วัน

“เมื่อมีพนักงานเดินทางไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยง โดยบริษัทฯ เชื่อมั่นว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้มีความปลอดภัยต่อทั้งพนักงานและยังสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าในอีกทางหนึ่งด้วย การปฏิบัติตามข้อแนะนำต่าง ๆ เพื่อป้องกันโรคระบาดไม่ได้เป็นเพียงความรับผิดชอบที่มีต่อตนเองเท่านั้น แต่ยังถือเป็นความรับผิดชอบต่อส่วนรวมที่ทุกคนพึงปฏิบัติตามด้วยกันทั้งสิ้น”

ที่มา: http://www.logisticstime.net/archives/19910

 

จากวิกฤติไวรัสโควิด-19 ที่เวลานี้ยังแผงฤทธิ์ไล่คุกคามและลามแพร่เชื้อระบาดหนักไปทั่วโลก จำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตพุ่งสูงต่อเนื่อง ส่งผลกระทบซ้ำเติมเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของแต่ละประเทศทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กลายเป็นวิกฤติที่ทุกประเทศทั่วโลกต้องงัดมาตรการเร่งด่วนเพื่อปราบพยศข้าศึกอย่างไวรัสโควิด-19 ให้อยู่หมัด

ทุกวิกฤติย่อมมีโอกาสเสมอ แม้เกือบทุกธุรกิจอาจได้รับกระทบจากวิกฤติไวรัสโควิด-19 แต่ก็ยังมีอีกหลายธุรกิจที่ได้อานิสงส์เช่นกัน เช่นธรุกิจการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่เติบโตสวนกระแสธุรกิจอื่นๆ ว่ากันว่าอัตราการเติบโตพุ่งกว่า 80 %

ในเรื่องนี้นอสตร้า โลจิสติกส์ ชี้พฤติกรรมผู้บริโภคเลี่ยงแหล่งช้อปปิ้งแออัดหันสั่งสินค้าออนไลน์แทน แนะธุรกิจขนส่งเตรียมรับมือใช้เทคโนโลยีจัดการ-ติดตามการขนส่งแบบเรียลไทม์ พร้อมกำหนดพิกัดอาณาเขตพื้นที่เสี่ยงบนแผนที่ (Geofence) รับมือการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น เพื่อบริหารการจัดส่งสินค้า เพิ่มความมั่นใจแก่ผู้รับสินค้าทุกการจัดส่งกรณีเกิดปัญหากับเส้นทางจัดส่งสามารถติดตามข้อมูลเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที

ผู้บริโภคเลี่ยงแหล่งช้อปปิ้งหันสั่งออกไลน์แทน 

นางวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่าจากสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่กำลังระบาดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มหลีกเลี่ยงแหล่งช้อปปิ้งที่มีผู้คนแออัดและใช้บริการจัดส่งแทน โดยสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ทำให้เกิดปริมาณการสั่งซื้อและการจัดส่งสินค้าเพิ่มขึ้นมากกว่าในเวลาปกติอย่างมาก สอดคล้องกับผลสำรวจของกสทช.ที่ระบุจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจากผู้ใช้งาน แอพฯ ของสำนักงานกสทช. จำนวน 2,554 คน พบว่า เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ประชาชนมีการสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นจากเดือนมกราคม 2563 เกินกว่า 80% โดยสัดส่วนที่โตขึ้นมาจากพฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคที่มีมากขึ้น

“ภายใต้วิกฤติดังกล่าวที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อปัจจัยบวกที่ถือว่าเป็นโอกาสต่อวงการโลจิสติกส์และการขนส่ง จากพฤติกรรมผู้บริโภคหันไปเลือกสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ การบริการจัดส่งด่วนมีแนวโน้มกลายเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคสูงขึ้นมาก นับเป็นโอกาสและความท้าทายของทั้งผู้ค้ารายใหญ่ รายย่อย และธุรกิจขนส่งที่จะเตรียมความพร้อมรับมือทั้งในเรื่องปริมาณการจัดส่งสินค้าจากระบบออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในการรับบริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง และปลอดภัย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งสินค้าจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือในการจัดการและวางแผนการจัดส่งสินค้าที่ดี เพื่อให้การกระจายสินค้าในแต่ละวันเป็นไปอย่างราบรื่น”

แนะผู้ขนส่งใช้เทคโนฯจัดการ-ติดตามการขนส่ง

นางวรินทร กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางด้านเทคโนโลยีระบบบริหารจัดการและติดตามการขนส่ง “นอสตร้าโลจิสติกส์” พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยผู้ประกอบการขนส่งรับมือการขนส่งในระหว่างเกิดสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 แบบตรงจุด ด้วยความสามารถในการจัดการออเดอร์และเส้นทางจัดส่ง เช่น การจัดเส้นทางส่งสินค้าแบบรองรับการส่งสินค้าหลายจุด หรือ Route Optimization for Multidrop ซึ่งระบบสามารถกำหนดจุดส่งสินค้าโดยให้ลำดับการส่งก่อน-หลัง และแนะนำเส้นทางที่สั้นที่สุดตลอดเส้นทางขนส่ง เพื่อประหยัดเวลาในการเดินทางและค่าใช้จ่ายมากที่สุด

“เมื่อกำหนดเส้นทางจัดส่งสำหรับรถแต่คันเรียบร้อย ยังสามารถทำการติดตามแผนการจัดส่ง เพื่อตรวจสอบข้อมูลการเดินทางของรถขนส่ง โดยระบบสามารถเห็นทั้งระยะทางและระยะเวลาที่จะเข้าถึงในแต่ละจุดส่งด้วยการคำนวณแบบเรียลไทม์ โดยในกรณีที่เห็นว่าการจัดส่งสินค้าอาจจะไม่เป็นไปตามแผน ผู้ดูแลสามารถใช้ข้อมูลการติดตามรถนี้เพื่อการตัดสินใจปรับแผนจัดส่งได้ทันที เช่น การแจ้งขยายเวลาการเข้าถึงจุดส่งสินค้า การเลื่อนหรือยกเลิกจุดจัดส่งสินค้า โดยสามารถสื่อสารกับผู้ขับรถให้ดำเนินการอย่างไร ตลอดจนแจ้งลูกค้าให้ทราบล่วงหน้า เพื่อรับทราบข้อมูลการจัดส่งซึ่งจะเป็นการสร้างความพึงพอใจในการบริการที่ดีได้เป็นอย่างมาก”

นางวรินทร ย้ำว่ากรณีที่การเกิดโรคระบาดส่งผลให้หลายพื้นที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ผู้ใช้งานสามารถกำหนดพิกัดอาณาเขตพื้นที่บนแผนที่ ซึ่งหมายรวมถึงพื้นที่อันตราย พื้นที่ห้ามเข้า พื้นที่กักกันการระบาด พื้นที่เสี่ยง พื้นที่ที่มีการรายงานพบผู้ป่วย หรืออื่น ๆ ที่เรียกว่า Geofence โดยกำหนดเป็นจุดพิกัด หรือตีกรอบพื้นที่และจัดแยกเป็นกลุ่มหมวดหมู่  ระบบจะหลีกเลี่ยงเส้นทางการขับรถในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว และแจ้งเตือนหากเข้าใกล้พื้นที่ดังกล่าวด้วย

“ที่สำคัญสามารถตรวจสอบย้อนกลับข้อมูลเส้นทางจัดส่งสินค้า หรือ Trace on Cloud โดยตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังการจัดส่งได้ทุกจุด ว่ารถขนส่งได้วิ่งผ่านในเส้นทางใด และแวะส่งสินค้าที่จุดใดบ้าง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้รับสินค้าทุกการจัดส่ง  หรือในกรณีที่เกิดปัญหากับเส้นทางการจัดส่งนั้นก็สามารถติดตามข้อมูลเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว”

ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันฝ่าวิกฤติครั้งนี้

นางวรินทร สรุปปิดท้ายว่าในส่วนผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ ก็ควรจะมีมาตรการป้องกันเตรียมพร้อม โดยเตรียมแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งระยะสั้นและระยะยาว และเตรียมข้อมูลเพื่อการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่ถูกต้อง เพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อโรคระบาดสำหรับพนักงานของบริษัทฯตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข เช่น การตรวจคัดกรองอุณหภูมิก่อนเข้าพื้นที่ทำงาน การใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือ การกักตัว 14 วัน

“เมื่อมีพนักงานเดินทางไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยง โดยบริษัทฯ เชื่อมั่นว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้มีความปลอดภัยต่อทั้งพนักงานและยังสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าในอีกทางหนึ่งด้วย การปฏิบัติตามข้อแนะนำต่าง ๆ เพื่อป้องกันโรคระบาดไม่ได้เป็นเพียงความรับผิดชอบที่มีต่อตนเองเท่านั้น แต่ยังถือเป็นความรับผิดชอบต่อส่วนรวมที่ทุกคนพึงปฏิบัติตามด้วยกันทั้งสิ้น”

ที่มา: http://www.logisticstime.net/archives/19910