"ถาวร" ตั้งคณะทำงานขนส่งสินค้าเกษตรช่วงโควิด


ถาวร ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจด้านโลจิสติกส์ รองรับการขนส่งสินค้าเกษตร ในช่วงโควิด-19 เผยช่วยเร่งระบายผลไม้ถึงมือผู้บริโภคทั้งใน-ต่างประเทศ ทั้งยังสร้าตั้งงรายได้ให้การบินไทยอีกช่องทางหนึ่ง

นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เผยว่าเมื่อวันที่ 22เมษายน2563 ผมได้ลงนามแต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจด้านโลจิสติกส์เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าเกษตรในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)โดยมีนายเจือ ราชสีห์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานคณะทำงาน

วัตถุประสงค์ในการตั้งคณะทำงานดังกล่าว เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้การส่งออกสินค้าเกษตรไปยังประเทศคู่ค้าหลักได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะผลผลิตที่ออกในช่วงเดือนเมษายน - เดือนมิถุนายน 2563

ภาครัฐจึงต้องเร่งหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากกรณีดังกล่าว ทั้งในด้านการบริหารจัดการผลผลิต การหาตลาดเพิ่ม และการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ ซึ่งในด้านระบบขนส่งและโลจิสติกส์ควรได้รับการสนับสนุนทางอากาศโดยสายการบินแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องบูรณาการข้อมูล กฎหมาย ระเบียบ วิธีการ และร่วมกันพิจารณาแนวทางดำเนินการต่อไป

คณะทำงานฯ ที่ผมตั้งขึ้นมาจะร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ สมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย สมาคมผู้ประกอบการพืชผักผลไม้ไทย  สมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย สมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทย สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ สมาคมขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าและส่งออก สมาคมขนส่งสินค้าเร่งด่วนไทย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรไทย

        โดยได้วางรูปแบบการทำงานไว้ ดังนี้

          1. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งให้ความสำคัญกับภาคเกษตรและเรื่องนี้มาก จึงมีนโยบายให้สินค้าเกษตรที่กำลังจะออกผลผลิตมาในปีนี้ กระจายไปสู่ตลาดภายในประเทศและระหว่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว จึงรับหน้าที่ดูแลการตลาด        

          2. นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับหน้าที่ดูแลภาคการผลิตสินค้าเกษตร

          3. นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกำกับดูแลการขนส่งทางอากาศ ดูแลการบินไทย รับหน้าที่ดูแลด้านการขนส่ง

ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบโดยตรง ผนวกกับการร่วมมือกับเอกชนหลายฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้สินค้าเกษตรซึ่งเป็นประเภทอาหารที่เน่าเสียง่าย ต้องการความรวดเร็วในการขนส่งไปสู่ผู้บริโภค สามารถขนส่งไปยังผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ทันท่วงที สามารถสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรปีละหลายแสนล้านบาท และที่สำคัญภาคเกษตรคือกระดูกสันหลังของประเทศจะได้รับการช่วยเหลือในด้านราคาสิค้าโดยตรง

สินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง ช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้ แม้จะทำให้ตันทุนการขนส่งสูงขึ้นจาก 22 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 65-70 บาทต่อกิโลกรัม (ราคาสายการบินไทย/สายการบินเกาหลี) แม้กำไรจากสินค้าเกษตรจะลดลงแต่ผมก็มองว่า การขนส่งสินค้าทางอากาศเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการจำหน่ายสินค้าเกษตรและช่วยเหลือการบินไทยในสภาวะหยุดบิน ซึ่งไม่มีรายได้ใดๆเลย ได้เป็นอย่างดี

ปริมาณสินค้าเกษตรที่จะออกสู่ตลาดในช่วงฤดูกาลนี้กันว่า มีอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด -ลิ้นจี่ประมาณ 36,873 ตัน ทุเรียนประมาณ 1,110,710 ตัน ลำไยประมาณ 699,815 ตัน มังคุด ประมาณ 379,597 ตัน เงาะประมาณ 277,005 ตัน ลองกองประมาณ 93,226 ตัน และมะม่วงประมาณ 360,000 ตัน

ผมเชื่อมั่นว่าคณะทำงานชุดนี้ จะทำให้การกระจายสินค้าภาคเกษตรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ถึงมือผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/431300?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=Macro_econ

ถาวร ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจด้านโลจิสติกส์ รองรับการขนส่งสินค้าเกษตร ในช่วงโควิด-19 เผยช่วยเร่งระบายผลไม้ถึงมือผู้บริโภคทั้งใน-ต่างประเทศ ทั้งยังสร้าตั้งงรายได้ให้การบินไทยอีกช่องทางหนึ่ง

นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เผยว่าเมื่อวันที่ 22เมษายน2563 ผมได้ลงนามแต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจด้านโลจิสติกส์เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าเกษตรในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)โดยมีนายเจือ ราชสีห์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานคณะทำงาน

วัตถุประสงค์ในการตั้งคณะทำงานดังกล่าว เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้การส่งออกสินค้าเกษตรไปยังประเทศคู่ค้าหลักได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะผลผลิตที่ออกในช่วงเดือนเมษายน - เดือนมิถุนายน 2563

ภาครัฐจึงต้องเร่งหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากกรณีดังกล่าว ทั้งในด้านการบริหารจัดการผลผลิต การหาตลาดเพิ่ม และการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ ซึ่งในด้านระบบขนส่งและโลจิสติกส์ควรได้รับการสนับสนุนทางอากาศโดยสายการบินแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องบูรณาการข้อมูล กฎหมาย ระเบียบ วิธีการ และร่วมกันพิจารณาแนวทางดำเนินการต่อไป

คณะทำงานฯ ที่ผมตั้งขึ้นมาจะร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ สมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย สมาคมผู้ประกอบการพืชผักผลไม้ไทย  สมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย สมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทย สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ สมาคมขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าและส่งออก สมาคมขนส่งสินค้าเร่งด่วนไทย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรไทย

        โดยได้วางรูปแบบการทำงานไว้ ดังนี้

          1. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งให้ความสำคัญกับภาคเกษตรและเรื่องนี้มาก จึงมีนโยบายให้สินค้าเกษตรที่กำลังจะออกผลผลิตมาในปีนี้ กระจายไปสู่ตลาดภายในประเทศและระหว่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว จึงรับหน้าที่ดูแลการตลาด        

          2. นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับหน้าที่ดูแลภาคการผลิตสินค้าเกษตร

          3. นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกำกับดูแลการขนส่งทางอากาศ ดูแลการบินไทย รับหน้าที่ดูแลด้านการขนส่ง

ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบโดยตรง ผนวกกับการร่วมมือกับเอกชนหลายฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้สินค้าเกษตรซึ่งเป็นประเภทอาหารที่เน่าเสียง่าย ต้องการความรวดเร็วในการขนส่งไปสู่ผู้บริโภค สามารถขนส่งไปยังผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ทันท่วงที สามารถสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรปีละหลายแสนล้านบาท และที่สำคัญภาคเกษตรคือกระดูกสันหลังของประเทศจะได้รับการช่วยเหลือในด้านราคาสิค้าโดยตรง

สินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง ช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้ แม้จะทำให้ตันทุนการขนส่งสูงขึ้นจาก 22 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 65-70 บาทต่อกิโลกรัม (ราคาสายการบินไทย/สายการบินเกาหลี) แม้กำไรจากสินค้าเกษตรจะลดลงแต่ผมก็มองว่า การขนส่งสินค้าทางอากาศเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการจำหน่ายสินค้าเกษตรและช่วยเหลือการบินไทยในสภาวะหยุดบิน ซึ่งไม่มีรายได้ใดๆเลย ได้เป็นอย่างดี

ปริมาณสินค้าเกษตรที่จะออกสู่ตลาดในช่วงฤดูกาลนี้กันว่า มีอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด -ลิ้นจี่ประมาณ 36,873 ตัน ทุเรียนประมาณ 1,110,710 ตัน ลำไยประมาณ 699,815 ตัน มังคุด ประมาณ 379,597 ตัน เงาะประมาณ 277,005 ตัน ลองกองประมาณ 93,226 ตัน และมะม่วงประมาณ 360,000 ตัน

ผมเชื่อมั่นว่าคณะทำงานชุดนี้ จะทำให้การกระจายสินค้าภาคเกษตรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ถึงมือผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/431300?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=Macro_econ