การ์ทเนอร์เผยโควิด-19  สะเทือน 'ซัพพลายเชน'


การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจทั่วโลก อุตสาหกรรมซัพพลายเชน เป็นหนึ่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ผู้จัดการด้านซัพพลายเชน’ จำเป็นต้องประเมินและวางแผนเพื่อรับมือกับผลกระทบนี้

การ์ทเนอร์ บริษัทวิจัย และให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก ออกรายงานผลกระทบจากโรคโควิด-19 ที่กำลังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมซัพพลายเชนทั้งระบบ โดยระบุว่า อาจยังเห็นไม่ชัดเจนในตอนนี้ จนกว่าจะถึงเวลาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าหรือมากกว่านั้น 

‘โฆเร โฆเซ่’ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูลของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า ผลที่ตามมาจากการระบาดของโควิด-19 เป็นสิ่งที่ยากจะคาดการณ์ แต่ความเสี่ยงนั้นยังคงมีอยู่ แต่ความเสี่ยงจะเกิดขึ้นหรือไม่ ไม่สำคัญเท่ากับการพร้อมรับมือ เมื่อเกิดความเสี่ยงขึ้น ทำให้ต้องเปลี่ยนแนวคิดการบริหารความเสี่ยง และสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจ 

 

ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม

การ์ทเนอร์ ชี้ว่า โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชน ทำให้เกิดการขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ หรือสินค้าสำเร็จรูป ที่ขนส่งผ่านศูนย์โลจิสติกส์ในพื้นที่ที่ได้รับผล กระทบด้านแรงงาน อาจเกิดการขาดแคลนพนักงานออฟฟิศ หรือคนงานในโรงงานเนื่องจากการถูกกักกันโรค หรือจากอาการเจ็บป่วย ทั้งกระทบการเข้าถึงแหล่งต้นทางของสินค้าหรือการบริการ เนื่องจากการเดินทางอาจถูกจำกัดในบางพื้นที่ เกิดข้อจำกัดในการเข้าถึง ในการเสาะหาธุรกิจหรือโปรแกรมใหม่ที่มีคุณภาพเหมาะสมเพื่อธุรกรรมทางธุรกิจ ฝั่งโลจิสติกส์ การตั้งศูนย์ขนส่งและซัพพลายเน็ตเวิร์ค อาจเกิดข้อจำกัดด้านการจัดเก็บและความพร้อมใช้งาน ดังนั้น แม้มีวัสดุอุปกรณ์พร้อม แต่อาจติดค้างอยู่ที่ใดที่หนึ่ง นอกจากนี้ การค้นหาเส้นทางและวิธีขนส่งแบบอื่นก็จะยุ่งยากขึ้น

ผู้บริโภคอาจระมัดระวังพฤติกรรมการซื้อ เนื่องจากกลัวการอยู่ในที่สาธารณะ และอาจมีโอกาสติดเชื้อไวรัสได้ หลายรายหันไปซื้อของออนไลน์แทน เรื่องนี้เป็นเรื่องท้าทายเครือข่ายการขนส่งมาก เมื่อเกิดภาวะชะงักงันจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ องค์กรชั้นนำในซัพพลายเชน ต่างพากันใช้ประโยชน์จากกระบวนการจัดการความเสี่ยง นำขอบข่ายงานเข้ามาเป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงหลักอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเตรียมพร้อมกรณีต้องรับมือกับความไม่แน่นอนที่สามารถควบคุมและคาดเดาได้ เช่น การปฏิบัติตามกฎระเบียบ, แรงงาน, วัสดุอุปกรณ์, กำลังการผลิต และปัญหาทางการเงิน เป็นต้น

 

แนะจัดแผน3ระยะรับมือ

  1. แผนระยะสั้น คือ ต้องลงมือทำทันที พัฒนาโปรแกรมสำหรับตรวจสอบและรับมือความเสี่ยงสูง ที่จะเกิดจากภาวะชะงักงันของซัพพลายเชนในประเทศ เริ่มจากซัพพลายเชนระดับที่ 1 และต่ำกว่า หากความโปร่งใสในซัพพลายเชนในระดับที่ต่ำกว่าขาดหายไป ต้องเริ่มสร้างโปรแกรมและจัดลำดับความสำคัญของการค้นพบ เพื่อให้ได้ภาพเต็มอย่างรวดเร็วที่สุด อีกสิ่งที่สำคัญ คือ ประเมินว่าการใช้จ่ายของลูกค้าอาจได้รับผลกระทบอย่างไร ขั้นตอนต่อไป คือ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสินค้าคงคลังทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ และอยู่นอกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ผู้จัดการด้านซัพพลายเชนควรทำงานร่วมฝ่ายกฎหมาย และทรัพยากรบุคคลทำความเข้าใจกับผลกระทบทางการเงินอื่น ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ไม่สามารถส่งมอบของให้ลูกค้า และต้องให้คำแนะนำแก่พนักงานที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
  2. แผนระยะกลาง สร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน รวมถึงต้องมีสินค้าคงคลังสำรองไว้ เพื่อมีโอกาสเข้าถึงซัพพลายเออร์ที่หลากหลายขึ้น และมีการทบทวนหรือสร้างแนวทางบริหารความเสี่ยงโดยรวมขององค์กร รวมถึงต้องทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร และซัพพลายเออร์สำคัญในเชิงกลยุทธ์ เพื่อสร้างแนวทางจัดการความเสี่ยงที่สอดคล้องกันในการตรวจสอบ และเตรียมความพร้อมสำหรับความขาดแคลนด้านวัสดุอุปกรณ์ และกำลังการผลิตที่มีศักยภาพ 
  3. ระยะยาว สิ่งต่อไปที่ต้องคาดการณ์ คือ จะเกิดผลกระทบขึ้นอีก “เมื่อใด” ผู้จัดการด้านซัพพลายเชนและทีมอาจต้องฝึกวางแผน และพัฒนาแผนปฏิบัติการไว้รองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งนี่คือเวลาที่จะค้นพบหรือพัฒนาแหล่งต้นทางของสินค้า หรือการบริการอื่น และได้เชนใหม่ เข้ามาเพิ่ม 

 

การจัดการกับซัพพลายเชิงกลยุทธ์ที่มีมูลค่าความเสี่ยงสูงรับมือภายในองค์กร อาจไม่เพียงพอบรรเทาภาวะชะงักงันสำคัญที่เกิดขึ้นได้ เช่น แหล่งสินค้า บริการทางเลือก เส้นทางขนส่ง สินค้าคงคลังและเงินสดสำรอง การเตรียมพร้อมรับมือย่อมดีกว่าการแข่งขัน เพราะอาจเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับองค์กรได้เมื่อมีการภาวะชะงักงันในครั้งหน้า

 

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/869006?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=it

 

การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจทั่วโลก อุตสาหกรรมซัพพลายเชน เป็นหนึ่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ผู้จัดการด้านซัพพลายเชน’ จำเป็นต้องประเมินและวางแผนเพื่อรับมือกับผลกระทบนี้

การ์ทเนอร์ บริษัทวิจัย และให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก ออกรายงานผลกระทบจากโรคโควิด-19 ที่กำลังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมซัพพลายเชนทั้งระบบ โดยระบุว่า อาจยังเห็นไม่ชัดเจนในตอนนี้ จนกว่าจะถึงเวลาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าหรือมากกว่านั้น 

‘โฆเร โฆเซ่’ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูลของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า ผลที่ตามมาจากการระบาดของโควิด-19 เป็นสิ่งที่ยากจะคาดการณ์ แต่ความเสี่ยงนั้นยังคงมีอยู่ แต่ความเสี่ยงจะเกิดขึ้นหรือไม่ ไม่สำคัญเท่ากับการพร้อมรับมือ เมื่อเกิดความเสี่ยงขึ้น ทำให้ต้องเปลี่ยนแนวคิดการบริหารความเสี่ยง และสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจ 

 

ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม

การ์ทเนอร์ ชี้ว่า โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชน ทำให้เกิดการขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ หรือสินค้าสำเร็จรูป ที่ขนส่งผ่านศูนย์โลจิสติกส์ในพื้นที่ที่ได้รับผล กระทบด้านแรงงาน อาจเกิดการขาดแคลนพนักงานออฟฟิศ หรือคนงานในโรงงานเนื่องจากการถูกกักกันโรค หรือจากอาการเจ็บป่วย ทั้งกระทบการเข้าถึงแหล่งต้นทางของสินค้าหรือการบริการ เนื่องจากการเดินทางอาจถูกจำกัดในบางพื้นที่ เกิดข้อจำกัดในการเข้าถึง ในการเสาะหาธุรกิจหรือโปรแกรมใหม่ที่มีคุณภาพเหมาะสมเพื่อธุรกรรมทางธุรกิจ ฝั่งโลจิสติกส์ การตั้งศูนย์ขนส่งและซัพพลายเน็ตเวิร์ค อาจเกิดข้อจำกัดด้านการจัดเก็บและความพร้อมใช้งาน ดังนั้น แม้มีวัสดุอุปกรณ์พร้อม แต่อาจติดค้างอยู่ที่ใดที่หนึ่ง นอกจากนี้ การค้นหาเส้นทางและวิธีขนส่งแบบอื่นก็จะยุ่งยากขึ้น

ผู้บริโภคอาจระมัดระวังพฤติกรรมการซื้อ เนื่องจากกลัวการอยู่ในที่สาธารณะ และอาจมีโอกาสติดเชื้อไวรัสได้ หลายรายหันไปซื้อของออนไลน์แทน เรื่องนี้เป็นเรื่องท้าทายเครือข่ายการขนส่งมาก เมื่อเกิดภาวะชะงักงันจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ องค์กรชั้นนำในซัพพลายเชน ต่างพากันใช้ประโยชน์จากกระบวนการจัดการความเสี่ยง นำขอบข่ายงานเข้ามาเป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงหลักอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเตรียมพร้อมกรณีต้องรับมือกับความไม่แน่นอนที่สามารถควบคุมและคาดเดาได้ เช่น การปฏิบัติตามกฎระเบียบ, แรงงาน, วัสดุอุปกรณ์, กำลังการผลิต และปัญหาทางการเงิน เป็นต้น

 

แนะจัดแผน3ระยะรับมือ

  1. แผนระยะสั้น คือ ต้องลงมือทำทันที พัฒนาโปรแกรมสำหรับตรวจสอบและรับมือความเสี่ยงสูง ที่จะเกิดจากภาวะชะงักงันของซัพพลายเชนในประเทศ เริ่มจากซัพพลายเชนระดับที่ 1 และต่ำกว่า หากความโปร่งใสในซัพพลายเชนในระดับที่ต่ำกว่าขาดหายไป ต้องเริ่มสร้างโปรแกรมและจัดลำดับความสำคัญของการค้นพบ เพื่อให้ได้ภาพเต็มอย่างรวดเร็วที่สุด อีกสิ่งที่สำคัญ คือ ประเมินว่าการใช้จ่ายของลูกค้าอาจได้รับผลกระทบอย่างไร ขั้นตอนต่อไป คือ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสินค้าคงคลังทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ และอยู่นอกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ผู้จัดการด้านซัพพลายเชนควรทำงานร่วมฝ่ายกฎหมาย และทรัพยากรบุคคลทำความเข้าใจกับผลกระทบทางการเงินอื่น ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ไม่สามารถส่งมอบของให้ลูกค้า และต้องให้คำแนะนำแก่พนักงานที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
  2. แผนระยะกลาง สร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน รวมถึงต้องมีสินค้าคงคลังสำรองไว้ เพื่อมีโอกาสเข้าถึงซัพพลายเออร์ที่หลากหลายขึ้น และมีการทบทวนหรือสร้างแนวทางบริหารความเสี่ยงโดยรวมขององค์กร รวมถึงต้องทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร และซัพพลายเออร์สำคัญในเชิงกลยุทธ์ เพื่อสร้างแนวทางจัดการความเสี่ยงที่สอดคล้องกันในการตรวจสอบ และเตรียมความพร้อมสำหรับความขาดแคลนด้านวัสดุอุปกรณ์ และกำลังการผลิตที่มีศักยภาพ 
  3. ระยะยาว สิ่งต่อไปที่ต้องคาดการณ์ คือ จะเกิดผลกระทบขึ้นอีก “เมื่อใด” ผู้จัดการด้านซัพพลายเชนและทีมอาจต้องฝึกวางแผน และพัฒนาแผนปฏิบัติการไว้รองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งนี่คือเวลาที่จะค้นพบหรือพัฒนาแหล่งต้นทางของสินค้า หรือการบริการอื่น และได้เชนใหม่ เข้ามาเพิ่ม 

 

การจัดการกับซัพพลายเชิงกลยุทธ์ที่มีมูลค่าความเสี่ยงสูงรับมือภายในองค์กร อาจไม่เพียงพอบรรเทาภาวะชะงักงันสำคัญที่เกิดขึ้นได้ เช่น แหล่งสินค้า บริการทางเลือก เส้นทางขนส่ง สินค้าคงคลังและเงินสดสำรอง การเตรียมพร้อมรับมือย่อมดีกว่าการแข่งขัน เพราะอาจเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับองค์กรได้เมื่อมีการภาวะชะงักงันในครั้งหน้า

 

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/869006?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=it