DITP เปิดตัวโครงการ Agri Plus Logistics เชื่อมโยงผู้ประกอบการขนส่งกับเกษตรกรยุคใหม่


           กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดโครงการเชื่อมโยงโลจิสติกส์การเกษตรสู่การส่งออก หรือ Agri Plus Logistics พัฒนาและสร้างโอกาสทางการค้าให้เกษตรกรในภูมิภาค เน้นการบริหารจัดการสินค้าเกษตรด้วยระบบโลจิสติกส์ พร้อมสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการสินค้าเกษตร ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ และผู้ซื้อในต่างประเทศ ประเดิมโครงการแรกในภาคเหนือ

            นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กรมได้ดำเนินโครงการตามนโยบายเกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด  ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับกระทรวงพาณิชย์ ตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของโลก มุ่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มรายได้เกษตรกรและผู้ประกอบการ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ นอกจากจะให้ความสำคัญด้านตลาดแล้ว ยังส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการทั้งในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยให้สามารถแข่งขันและก้าวสู่ตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

           โครงการเชื่อมโยงโลจิสติกส์การเกษตรสู่การส่งออก หรือ Agri Plus Logistics ครั้งแรกนี้จะเริ่มที่ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรในเขตภาคเหนือ โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมให้กับภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทย พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการสินค้าเกษตรด้วยกระบวนการโลจิสติกส์ยุคใหม่ นำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในมิติต่างๆ ส่งเสริมและผลักดันให้ธุรกิจการเกษตรของไทยมีความพร้อมในการส่งออก ครอบคลุมในทุกมิติของห่วงโซ่อุปทาน เกิดระบบโลจิสติกส์สำหรับสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกที่เหมาะสม และสามารถใช้งานได้จริงอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกล่าว 

          ปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านเกษตรกรรมแห่งหนึ่งของโลก ในแต่ละปีสามารถผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปได้เป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มความต้องการบริโภคเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ ผู้บริโภคจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการจับจ่ายใช้สอย กระบวนการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพจะสามารถส่งผลผลิตตรงจากแหล่งผลิตถึงมือผู้ซื้อ จะสร้างความมั่นใจได้ว่า ผู้ซื้อจะได้รับผลผลิตที่สดใหม่ มีคุณภาพสูงสุด โลจิสติกส์จึงเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมความแข็งแกร่งทางการค้าและสร้างความเป็นต่อในเชิงธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทย

          นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ กล่าวในตอนท้ายว่า นอกจากนี้ภายใต้โครงการดังกล่าวจะมีกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างผู้ประกอบการสินค้าเกษตร ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ และผู้นำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อเชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจจากส่วนภูมิภาคสู่ระดับสากล ผู้ประกอบการโลจิสติกส์และผู้ประกอบการสินค้าเกษตรในพื้นที่ภาคเหนือที่สนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่ วันนี้ - 31 กรกฎาคม 2563 ผ่านเว็บไซต์  www.tradelogistics.go.th/agriplus

 

-------------------------------------------------

 

 

ข่าวประชาสัมพันธ์

สำนักพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจบริการ

           กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดโครงการเชื่อมโยงโลจิสติกส์การเกษตรสู่การส่งออก หรือ Agri Plus Logistics พัฒนาและสร้างโอกาสทางการค้าให้เกษตรกรในภูมิภาค เน้นการบริหารจัดการสินค้าเกษตรด้วยระบบโลจิสติกส์ พร้อมสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการสินค้าเกษตร ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ และผู้ซื้อในต่างประเทศ ประเดิมโครงการแรกในภาคเหนือ

            นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กรมได้ดำเนินโครงการตามนโยบายเกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด  ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับกระทรวงพาณิชย์ ตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของโลก มุ่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มรายได้เกษตรกรและผู้ประกอบการ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ นอกจากจะให้ความสำคัญด้านตลาดแล้ว ยังส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการทั้งในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยให้สามารถแข่งขันและก้าวสู่ตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

           โครงการเชื่อมโยงโลจิสติกส์การเกษตรสู่การส่งออก หรือ Agri Plus Logistics ครั้งแรกนี้จะเริ่มที่ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรในเขตภาคเหนือ โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมให้กับภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทย พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการสินค้าเกษตรด้วยกระบวนการโลจิสติกส์ยุคใหม่ นำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในมิติต่างๆ ส่งเสริมและผลักดันให้ธุรกิจการเกษตรของไทยมีความพร้อมในการส่งออก ครอบคลุมในทุกมิติของห่วงโซ่อุปทาน เกิดระบบโลจิสติกส์สำหรับสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกที่เหมาะสม และสามารถใช้งานได้จริงอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกล่าว 

          ปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านเกษตรกรรมแห่งหนึ่งของโลก ในแต่ละปีสามารถผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปได้เป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มความต้องการบริโภคเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ ผู้บริโภคจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการจับจ่ายใช้สอย กระบวนการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพจะสามารถส่งผลผลิตตรงจากแหล่งผลิตถึงมือผู้ซื้อ จะสร้างความมั่นใจได้ว่า ผู้ซื้อจะได้รับผลผลิตที่สดใหม่ มีคุณภาพสูงสุด โลจิสติกส์จึงเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมความแข็งแกร่งทางการค้าและสร้างความเป็นต่อในเชิงธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทย

          นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ กล่าวในตอนท้ายว่า นอกจากนี้ภายใต้โครงการดังกล่าวจะมีกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างผู้ประกอบการสินค้าเกษตร ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ และผู้นำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อเชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจจากส่วนภูมิภาคสู่ระดับสากล ผู้ประกอบการโลจิสติกส์และผู้ประกอบการสินค้าเกษตรในพื้นที่ภาคเหนือที่สนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่ วันนี้ - 31 กรกฎาคม 2563 ผ่านเว็บไซต์  www.tradelogistics.go.th/agriplus

 

-------------------------------------------------

 

 

ข่าวประชาสัมพันธ์

สำนักพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจบริการ