ส่อง 5 เทรนด์ เทคโนโลยีใหม่สุดล้ำกับการเปลี่ยนแปลงในยุค"ดิจิทัลโลจิสติกส์"


        “โลจิสติกส์” นับเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญของ Supply Chain หรือระบบห่วงโซ่อุปทาน ผ่านกระบวนการขนส่งหรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการไปยังจุดหมายปลายทาง ไม่ว่าจะเป็น ทางบก ทางน้ำ ทางราง หรือทางอากาศ บนพื้นฐานที่ผู้ขนส่งต้องคำนวณ คือ ความรวดเร็วและปลอดภัยของสินค้า รวมถึงการคำนวณต้นทุนที่เหมาะสมของการขนส่งนั้น ๆ อีกด้วย

          ในปัจจุบัน ด้วยสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 และการพัฒนาของระบบเทคโนโลยี ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า Digital Disruption ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล ที่เกิดจากรูปแบบธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ แพลตฟอร์ม และนวัตกรรมต่างๆ ที่อิงเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ส่งผลกระทบหลายภาคส่วน โดยเฉพาะธุรกิจเดิม ผลิตภัณฑ์เดิม ทำให้การทำงานและการใช้งานส่วนตัวมีการเปลี่ยนแปลงไป

          ด้วย Digital Disruption นี้ ทำให้มีผู้ประกอบการโลจิสติกส์หลายรายได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการขนส่งและโลจิสติกส์ เพื่อช่วยเพิ่มกำไรให้แก่ธุรกิจ การสร้างโอกาสในการแข่งขัน และการลดระยะเวลาในการขนส่ง เพราะความรวดเร็วในการขนส่งจะเป็นตัวช่วยผู้ประกอบการในการนำสินค้าออกไปสู่ตลาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น Ai, การสร้าง Application, Realtime tracking, สแกนเนอร์พกพา, QR Code, ระบบ GPS ฯลฯ ซึ่งส่งผลให้กิจกรรมด้านโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

          ตั้งแต่ปี 2020 จนถึงปัจจุบันในปี 2021 มีเทรนด์ของเทคโนโลยีใหม่ 5 เทรนด์ ที่จะเข้ามาท้าทายโลกของโลจิสติกส์ ได้แก่

1. Digital Logistics หรือการบริหารงานด้วยข้อมูลทางโลจิสติกส์ ซึ่งระบบนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการมองเห็นซัพพลายเชนทั้งระบบ และด้วยข้อมูลที่ได้มาจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้น และสามารถวางแผนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. Realtime Supply Chain Visibility หรือการจัดการทัศนวิสัยในห่วงโซ่อุปทานแบบทันท่วงทีนี้ ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถทราบข้อมูลกิจกรรมแบบเรียลไทม์ ซึ่งอาจประกอบด้วยเทคโนโลยี เช่น GPS Scanner หรือ Censor IoT ฯลฯ ในการติดตามกิจกรรมการขนส่ง เส้นทาง จุดส่งสินค้า หรือเงื่อนไขพิเศษต่างๆ รวมถึง เทคโนโลยี blockchain ที่จะทำให้ลูกค้าจะสามารถเห็นทุกขั้นตอนของการส่งสินค้าก่อนที่จะมาถึงมือ เพื่อให้ลูกค้าตัดได้รับข้อมูลในการตัดสินใจได้ดีขึ้น Realtime Supply Chain Visibility นี้ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเชื่อมโยงธุรกิจ คาดการถึงกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างเร็วที่สุด และมีประสิทธิภาพสูงสุด

3. Consolidation of Goods คือ การรวบรวมสินค้าจากหลายบริษัทในการโหลดบรรทุกของ ทั้งทางบก ทางเรือ ทางอากาศ เพื่อเพิ่มจำนวนสินค้าที่ถูกจัดส่งในบริษัทขนาดเล็ก ให้สามารถส่งออกสินค้าได้รวดเร็วมากขึ้น ทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และช่วยให้กระบวนการโลจิสติกส์มีเสถียรภาพ

4. Ai หรือปัญญาประดิษฐ์ คือการใช้ซอฟต์แวร์มาเลียนแบบความสามารถของมนุษย์ ทดแทนงานบางส่วนที่มนุษย์ต้องทำซ้ำๆ ทำให้งานที่ออกมาเป็นระเบียบ และวัดผลได้มากขึ้น

5. Data Standardization and Predictive Analytics Platform หรือเทคโนโลยีแพลตฟอร์มสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงและจัดการข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว คือเครื่องมือที่ช่วยในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ด้วยแพลตฟอร์ม สามารถพยากรณ์สิ่งที่กำลังจะเกิดล่วงหน้าได้ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถรับมือและเตรียมการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีเมื่อใส่เงื่อนไขเฉพาะลงไป เช่น อุบัติเหตุ การใช้น้ำมัน การซ่อมบำรุงรถ การใช้จ่าย เส้นทางขนส่งและจุดจอดรถที่เหมาะสม

          ด้วยเทรนด์การเปลี่ยนแปลงของ Digital Logistics ที่รวดเร็ว รุนแรง และก่อให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจในวงกว้างนั้น ในบริบทของหน่วยงานภาครัฐ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ มีภารกิจเตรียมความพร้อมและสร้างความตระหนักให้กับผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย จึงได้เตรียมจัดงานสัมมนาระดับนานาชาติ “Symposium 2021” ภายใต้แนวคิด Digital Logistics : The Answer to the Future หรือ ดิจิทัลโลจิสติกส์ : คำตอบของอนาคต”

          ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้องค์กรแข็งแกร่งพร้อมรับมือกับสภาพเศรษฐกิจ และพัฒนาขีดความสามารถด้านธุรกิจ แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทางด้านธุรกิจบริการโลจิสติกส์และการค้าระหว่างประเทศ ระหว่างวิทยากรผู้มีความรู้ ประสบการณ์ และมีบทบาทสำคัญ ในวงการโลจิสติกส์การค้าจากประเทศต่างๆ ที่มาร่วมแบ่งปันความรู้ ข้อมูลสถานการณ์การค้าในปัจจุบัน และทิศทางแนวโน้มของอุตสาหกรรมธุรกิจโลจิสติกส์ในอนาคตให้กับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้ประกอบการ นำเข้าส่งออก ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงอุตสาหกรรมธุรกิจบริการของไทย

          สำหรับงาน “Symposium 2021” จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 ส.ค. 2564 เวลา 14.00-17.30 น. ณ ห้อง Auditorium อาคาร True Digital Park และผ่านระบบ Zoom Webinar รวมถึงสามารถรับชมได้ผ่านช่องทาง การจัดงานแสดงสินค้าเสมือนจริง Tilog-VE 2021 (Virtual Exhibition) โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

        “โลจิสติกส์” นับเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญของ Supply Chain หรือระบบห่วงโซ่อุปทาน ผ่านกระบวนการขนส่งหรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการไปยังจุดหมายปลายทาง ไม่ว่าจะเป็น ทางบก ทางน้ำ ทางราง หรือทางอากาศ บนพื้นฐานที่ผู้ขนส่งต้องคำนวณ คือ ความรวดเร็วและปลอดภัยของสินค้า รวมถึงการคำนวณต้นทุนที่เหมาะสมของการขนส่งนั้น ๆ อีกด้วย

          ในปัจจุบัน ด้วยสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 และการพัฒนาของระบบเทคโนโลยี ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า Digital Disruption ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล ที่เกิดจากรูปแบบธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ แพลตฟอร์ม และนวัตกรรมต่างๆ ที่อิงเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ส่งผลกระทบหลายภาคส่วน โดยเฉพาะธุรกิจเดิม ผลิตภัณฑ์เดิม ทำให้การทำงานและการใช้งานส่วนตัวมีการเปลี่ยนแปลงไป

          ด้วย Digital Disruption นี้ ทำให้มีผู้ประกอบการโลจิสติกส์หลายรายได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการขนส่งและโลจิสติกส์ เพื่อช่วยเพิ่มกำไรให้แก่ธุรกิจ การสร้างโอกาสในการแข่งขัน และการลดระยะเวลาในการขนส่ง เพราะความรวดเร็วในการขนส่งจะเป็นตัวช่วยผู้ประกอบการในการนำสินค้าออกไปสู่ตลาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น Ai, การสร้าง Application, Realtime tracking, สแกนเนอร์พกพา, QR Code, ระบบ GPS ฯลฯ ซึ่งส่งผลให้กิจกรรมด้านโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

          ตั้งแต่ปี 2020 จนถึงปัจจุบันในปี 2021 มีเทรนด์ของเทคโนโลยีใหม่ 5 เทรนด์ ที่จะเข้ามาท้าทายโลกของโลจิสติกส์ ได้แก่

1. Digital Logistics หรือการบริหารงานด้วยข้อมูลทางโลจิสติกส์ ซึ่งระบบนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการมองเห็นซัพพลายเชนทั้งระบบ และด้วยข้อมูลที่ได้มาจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้น และสามารถวางแผนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. Realtime Supply Chain Visibility หรือการจัดการทัศนวิสัยในห่วงโซ่อุปทานแบบทันท่วงทีนี้ ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถทราบข้อมูลกิจกรรมแบบเรียลไทม์ ซึ่งอาจประกอบด้วยเทคโนโลยี เช่น GPS Scanner หรือ Censor IoT ฯลฯ ในการติดตามกิจกรรมการขนส่ง เส้นทาง จุดส่งสินค้า หรือเงื่อนไขพิเศษต่างๆ รวมถึง เทคโนโลยี blockchain ที่จะทำให้ลูกค้าจะสามารถเห็นทุกขั้นตอนของการส่งสินค้าก่อนที่จะมาถึงมือ เพื่อให้ลูกค้าตัดได้รับข้อมูลในการตัดสินใจได้ดีขึ้น Realtime Supply Chain Visibility นี้ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเชื่อมโยงธุรกิจ คาดการถึงกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างเร็วที่สุด และมีประสิทธิภาพสูงสุด

3. Consolidation of Goods คือ การรวบรวมสินค้าจากหลายบริษัทในการโหลดบรรทุกของ ทั้งทางบก ทางเรือ ทางอากาศ เพื่อเพิ่มจำนวนสินค้าที่ถูกจัดส่งในบริษัทขนาดเล็ก ให้สามารถส่งออกสินค้าได้รวดเร็วมากขึ้น ทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และช่วยให้กระบวนการโลจิสติกส์มีเสถียรภาพ

4. Ai หรือปัญญาประดิษฐ์ คือการใช้ซอฟต์แวร์มาเลียนแบบความสามารถของมนุษย์ ทดแทนงานบางส่วนที่มนุษย์ต้องทำซ้ำๆ ทำให้งานที่ออกมาเป็นระเบียบ และวัดผลได้มากขึ้น

5. Data Standardization and Predictive Analytics Platform หรือเทคโนโลยีแพลตฟอร์มสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงและจัดการข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว คือเครื่องมือที่ช่วยในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ด้วยแพลตฟอร์ม สามารถพยากรณ์สิ่งที่กำลังจะเกิดล่วงหน้าได้ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถรับมือและเตรียมการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีเมื่อใส่เงื่อนไขเฉพาะลงไป เช่น อุบัติเหตุ การใช้น้ำมัน การซ่อมบำรุงรถ การใช้จ่าย เส้นทางขนส่งและจุดจอดรถที่เหมาะสม

          ด้วยเทรนด์การเปลี่ยนแปลงของ Digital Logistics ที่รวดเร็ว รุนแรง และก่อให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจในวงกว้างนั้น ในบริบทของหน่วยงานภาครัฐ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ มีภารกิจเตรียมความพร้อมและสร้างความตระหนักให้กับผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย จึงได้เตรียมจัดงานสัมมนาระดับนานาชาติ “Symposium 2021” ภายใต้แนวคิด Digital Logistics : The Answer to the Future หรือ ดิจิทัลโลจิสติกส์ : คำตอบของอนาคต”

          ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้องค์กรแข็งแกร่งพร้อมรับมือกับสภาพเศรษฐกิจ และพัฒนาขีดความสามารถด้านธุรกิจ แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทางด้านธุรกิจบริการโลจิสติกส์และการค้าระหว่างประเทศ ระหว่างวิทยากรผู้มีความรู้ ประสบการณ์ และมีบทบาทสำคัญ ในวงการโลจิสติกส์การค้าจากประเทศต่างๆ ที่มาร่วมแบ่งปันความรู้ ข้อมูลสถานการณ์การค้าในปัจจุบัน และทิศทางแนวโน้มของอุตสาหกรรมธุรกิจโลจิสติกส์ในอนาคตให้กับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้ประกอบการ นำเข้าส่งออก ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงอุตสาหกรรมธุรกิจบริการของไทย

          สำหรับงาน “Symposium 2021” จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 ส.ค. 2564 เวลา 14.00-17.30 น. ณ ห้อง Auditorium อาคาร True Digital Park และผ่านระบบ Zoom Webinar รวมถึงสามารถรับชมได้ผ่านช่องทาง การจัดงานแสดงสินค้าเสมือนจริง Tilog-VE 2021 (Virtual Exhibition) โดยไม่มีค่าใช้จ่าย