การก้าวสู่ยุคดิจิทัล ส่งผลให้ธุรกิจต้องปรับตัวรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดย เฉพาะ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกันผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น B2B หรือ B2C อาจกล่าวได้ว่าโลกทุกวันนี้ไร้พรมแดน การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ มิใช่เรื่องยากเช่นในอดีต เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนระบบการชำระเงิน (E-payment / Internet Banking) ที่ช่วยให้การซื้อ-ขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
รายงานมูลค่าอีคอมเมิร์ซปี 2560 ของประเทศไทย เมื่อเทียบกับปี 2559 มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่ารวมประมาณ 2,812,592.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.86% ซึ่งมูลค่าขายส่วนใหญ่เป็นมูลค่า อีคอมเมิร์ซประเภท B2B จำนวนทั้งสิ้น 1,675,182.23 ล้านบาท (59.56%) เพิ่มขึ้น 8.63% ส่วนมูลค่าอีคอมเมิร์ซประเภท B2C จำนวน 812,612.68 ล้านบาท (28.89%) เพิ่มขึ้น 15.54% และมูลค่าอีคอมเมิร์ซประเภท B2G จำนวน 324,797.12 ล้าน บาท (11.55%) เพิ่มขึ้น 3.24% ซึ่งจะเห็นได้ว่ามูลค่าอีคอมเมิร์ซประเภท B2C มีอัตราการขยายตัวมากที่สุด อันสะท้อนถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน
ปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้การเติบโตของมูลค่าอีคอมเมิร์ซไทยสูงขึ้นต่อเนื่องทุกปี ได้แก่
ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ยืนยันได้อย่างชัดเจนถึงการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเมื่อธุรกิจนี้มีแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็วย่อมส่งผลไปถึงอีกหลากหลายธุรกิจที่ต้องปรับตัวตามให้ทัน ทั้งธุรกิจด้านการโทรคมนาคม ซอฟต์แวร์ ไอที หรือแม้แต่ธุรกิจด้าน โลจิสติกส์ที่เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ขับเคลื่อนให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซสมบูรณ์แบบ
กลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซจำเป็นต้องอาศัยการบริการขนส่งเป็นองค์ประกอบหลัก ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ผู้ประกอบการแต่ละรายจะมีช่องทางในการกระจายสินค้าและบริการที่แตกต่างกัน อาทิ กลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบ Enterprises นิยมใช้บริการบริษัทโลจิสติกส์ Outsource (Third Party) มากที่สุด 39.13% รองลงมาได้แก่การใช้บริการไปรษณีย์ไทย 34.78% และการใช้บริการโลจิสติกส์เป็นของตนเอง (Own Transportation) 26.09% ด้านกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบ SMEs นิยมใช้บริการไปรษณีย์ไทยมากที่สุดถึง 84.38% รองลงมาได้แก่ การใช้บริการบริษัทจัดส่งสินค้า (47.76%), การใช้บริการส่งโดยบริษัทตัวกลางในการจัดส่งสินค้า (8.40%), การใช้บริการจัดส่งสินค้าของตัวเอง (8.15%), การส่งข้อมูลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (6.23%), การกำหนดจุดรับสินค้าระหว่างผู้ประกอบการกับลูกค้า (5.37%) และรูปแบบอื่นๆ (1.89%)
ธุรกิจ Logistics Express เติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง คาดการณ์ว่า ในปัจจุบันมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 28,000 ล้านบาท และเติบโตโดยเฉลี่ย 10 – 20% ต่อปี การแข่งขันในธุรกิจนี้จึงเข้มข้น ไม่เฉพาะแต่ผู้ประกอบการในประเทศเท่านั้น ยังมีการเข้ามาลงทุนของบริษัทขนส่งทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งล่าสุด มีผู้ประกอบการขนส่งรายใหญ่ของไทยร่วมมือกับบริษัทขนส่งพัสดุรายใหญ่ของต่างชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำจุดแข็งมาแลกเปลี่ยนระหว่างกัน เช่น การนำองค์ความรู้การให้บริการในรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่การทักทายลูกค้า การเข้าหาลูกค้า และการบริการอื่น ๆ ที่เสริมให้ธุรกิจนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น การขยายสาขาและจุดรับพัสดุ การร่วมมือกับร้านสะดวกซื้อเพื่อสร้างความแข็งแกร่งแก่เครือข่ายขนส่ง ลดต้นทุนการทำธุรกิจ ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้ล้วนส่งผลให้สถานการณ์การแข่งขันของธุรกิจขนส่งพัสดุแบบเร่งด่วน (Logistics Express) ในไทยทวีความรุนแรงขึ้น
ไปรษณีย์ไทยผู้ประกอบการรายสำคัญที่ครองตลาดการจัดส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคทั่วประเทศสูงถึง 55% โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัดมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึง 70% ความสามารถในกระจายสินค้าได้มากที่สุด ส่วนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีส่วนแบ่งทางการตลาดลดลงมาอยู่ 40% (ไปรษณีย์ไทย, 2560) ด้วยผลประกอบการรายปี ไปรษณีย์ไทย มีกำไร 4,222 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% จากปี 2559 ส่วนปีนี้ ไปรษณีย์ไทยได้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 4,500 ล้านบาท (www.brandbuffet.in.th, 2018) ซึ่งหากเปรียบเทียบมูลค่าภาพรวมในตลาดโลจิสติกส์ที่สูงนับหมื่นล้านบาท ยังมีพื้นที่ในตลาดอีกมากที่รอให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ กระโจนเข้ามาในธุรกิจนี้
อย่างไรก็ตาม คู่แข่งขันที่กำลังมีบทบาทสำคัญอยู่ในขณะนี้อย่าง “เคอรี่ โลจิสติกส์กรุ๊ป” ก็มองเห็นช่องว่างของธุรกิจที่สามารถเติบโตได้ โดยเปิดสาขาในประเทศไทยกว่า 1,500 แห่ง ศูนย์กระจายสินค้า 600 แห่ง อยู่ระหว่างการก่อสร้างศูนย์คัดแยกสินค้าขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นอีก 3 แห่ง และกำลังขยายเฟสที่ 2 ของศูนย์คัดแยกสินค้า (brandinside.asia,2017)
บริษัทขนส่งที่เข้ามามีบทบาทในประเทศไทย หลักๆ แล้ว มีรูปแบบการประกอบกิจการที่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ รูปแบบ B2B (การจัดส่งแบบ Point to Point) และ รูปแบบ B2C & C2C (การจัดส่งแบบ Door to Door)
ตารางแสดงตัวอย่างผู้ประกอบการในธุรกิจขนส่ง
รูปแบบธุรกิจ | ผู้เล่นรายสำคัญ | การบริการ | จุดเด่น | กลยุทธ์การแข่งขัน |
B2B |
|
|
|
|
B2C & C2C |
|
|
|
|
รูปแบบธุรกิจทั้ง 2 กลุ่ม มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ด้วยความแตกต่างของกลุ่มลูกค้า ซึ่งเป็นปัจจัยที่กำหนดรูปแบบ การดำเนินงาน และกลยุทธ์ทางการแข่งขันให้แก่บริษัท การจัดส่งแบบ B2B ลูกค้าจะไม่เน้นความรวดเร็ว แต่จะเน้นที่การลดต้นทุนการขนส่งเป็นหลัก เนื่องจากลูกค้ากลุ่มนี้จะนำสินค้าที่ส่งมาไปจำหน่ายต่อหรือประกอบและแปรสภาพก่อนการจำหน่าย ดังนั้นยิ่งผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนขนส่งลงมากได้เท่าไหร่ ย่อมมีช่องว่างให้ทำกำไรได้มากขึ้นเท่านั้น โดยกลยุทธ์ที่ช่วยลดต้นทุนลงได้ เช่น การขนส่งแบบเต็มคัน (Full Truck Load) หมายถึง การขนส่งครั้งละมากๆ หรือในบางครั้งอาจรวมไปถึงการหาสินค้าเที่ยวกลับ (Backhauling Management) เพื่อลดการวิ่งเปล่าที่จะกลายเป็นต้นทุน การควบคุมพฤติกรรมของคนขับรถ เพื่อประหยัดน้ำมันและลดการเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น
ส่วนการจัดส่งแบบ B2C หรือ C2C ลูกค้าจะให้ความสำคัญกับความแน่นอนและความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าเป็นหลัก เรื่องต้นทุนรองลงมา ซึ่งแตกต่างจากความต้องการในการขนส่งแบบ B2B โดยเห็นได้จากพฤติกรรมของผู้ใช้บริการแบบพัสดุลงทะเบียนและพัสดุ (บริการพิเศษ) ที่มีเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ดังตาราง ดังนี้
ตารางแสดงปริมาณงานบริการไปรษณีย์ในประเทศ
บริการไปรษณีย์ในประเทศ | ปริมาณงาน (ล้านชิ้น) | ||
พ.ศ.2557 | พ.ศ.2558 | พ.ศ.2559 | |
พัสดุไปรษณีย์ธรรมดา | 10.61 | 12.15 | 12.81 |
บริการพิเศษ | 233.15 | 285.89 | 313.86 |
ที่มา: www.brandbuffet.in.th
นอกจากนี้ กลยุทธ์ในการแข่งขันของผู้ให้บริการโลจิสติกส์จะให้ความสำคัญกับการกำจัดความสูญเสีย 7 ประการ (The 7 Waste) ได้แก่
ถึงแม้ว่า กระบวนการกำจัดความสูญเสียที่กล่าวมานั้น จะช่วยลดเวลาการทำงานได้ ในทางกลับกันก็ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของต้นทุนด้วย ดังนั้น ประเด็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและกลยุทธ์เพื่อลดต้นทุน อาจไม่ใช่ประเด็นเดียวที่ผู้ประกอบการต้องตระหนักถึงแล้ว เพราะนอกเหนือจากนั้น มาตรฐานการบริการที่รวดเร็ว คือ อีกปัจจัยสำคัญที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยินดีจ่ายในส่วนนี้
ผู้ประกอบการด้านขนส่งพัสดุสินค้าย่อยแบบเร่งด่วนต้องมีการเร่งสร้างจุดแข็ง เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด โดยนำจุดเด่นออกมานำเสนอ เช่น ความรวดเร็วในการขนส่งสินค้าหรือสามารถส่งสินค้าได้สะดวกกว่าเพราะมีจุดรับสินค้าที่ครอบคลุมพื้นที่ รวมถึงความสามารถในการกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึง
ที่ผ่านมาประเทศไทยมีผู้ประกอบการในตลาด Logistics Express ที่สำคัญมีอยู่เพียงรายเดียว คือ ไปรษณีย์ไทย แต่ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการข้ามชาติที่เข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดมากขึ้น ทำให้รูปแบบการให้บริการที่ตอบสนองความรวดเร็วเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าอีกต่อไป
แม้ว่าความต้องการหลักของผู้บริโภคคือความรวดเร็ว และยังมีเพียงไม่กี่บริษัทที่สามารถจัดส่งสินค้าได้ภายในวันเดียวหรือวันถัดไป แต่ถ้าหากพิจารณาถึงอนาคตหากผู้ให้บริการสามารถพัฒนาตนเองจนมีความเร็วในการส่งสินค้าไดไม่ต่างกัน ผู้บริโภคย่อมเรียกหาบริการที่เพิ่มขึ้นหรือความแตกต่างในการรับบริการอย่างแน่นอน โดยผู้ให้บริการขนส่งจำเป็นต้องพัฒนากลยุทธ์ทางการแข่งขันออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบสินค้าและบริการที่ดีที่สุดให้แก่ผู้บริโภคที่มีความต้องการในตัวสินค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ให้บริการโลจิสติกส์อาจนำแนวทางเพื่อพัฒนาธุรกิจการส่งสินค้าแบบเร่งด่วนไปพิจารณาทั้งหมด 5 ข้อ ดังนี้
1. การส่งมอบบริการที่มากกว่าการจัดส่ง
หากอนาคตความเร็วในการให้บริการมีความใกล้เคียงกัน ผู้บริโภคก็จะเรียกหาบริการอื่นที่สะท้อนความเป็นมืออาชีพ และใส่ใจรายละเอียดมากขึ้น เช่น มิตรภาพในการให้บริการ ความกระตือรือร้นในการจัดส่ง การเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้า เป็นต้น
2. การให้บริการที่เป็นจุดแข็งของตนเอง
ปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่จะเข้าไปใช้บริการส่งพัสดุแบบทั่วไป เช่น เอกสาร สินค้า เป็นต้น ซึ่งเป็นตลาดที่มีอัตรากันแข่งขันค่อนข้างสูง หากมีรายใดที่สามารถส่งสินค้าที่ต้องการเงื่อนไขพิเศษได้ ย่อมสามารถสร้างความแตกต่างและจะกลายเป็นจุดแข็งขององค์กรในที่สุด ดังเช่นกรณีของเอสซีจี เอ็กซ์เพลส ที่มีบริการขนส่งสินค้าแบบแช่เย็นหรือแช่แข็ง ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มที่ผู้บริโภคจะสั่งสินค้าประเภทอาหารเพิ่มขึ้น หรืออาจจะมีจุดแข็งในการส่งสินค้าที่มีชีวิต เช่น สัตว์เลี้ยงราคาแพง เป็นต้น รวมถึงการเข้าไปทำธุรกิจเชิงรุก การเข้าไปให้บริการผู้ค้าออนไลน์แบบครบวงจร ทั้งจัดเก็บ บริหารสินค้าคงคลัง และกระจายสินค้า ให้แบบเบ็ดเสร็จก็สามารถทำได้
3. การขยายพื้นที่การให้บริการเพิ่มขึ้น
ด้วยพฤติกรรมในการเลือกบริการส่งสินค้าของผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่หากว่าผู้ให้บริการไม่สามารถส่งสินค้าให้ครอบคลุมถึงหน้าบ้านของลูกค้าได้ ก็มีความจำเป็นต้องเลือกผู้ประกอบการรายอื่นแทน ดังนั้นการขยายพื้นที่การให้บริการ ยังคงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญ โดยอาจจะเพิ่มกลยุทธ์ Blue Ocean ที่ไม่มุ่งเน้นที่จะตอบสนองต่ออุปสงค์ที่มีอยู่ แต่จะเน้นในการสร้างความต้องการหรืออุปสงค์ขึ้นมาใหม่ เช่น การให้บริการขนส่งในเส้นทางหรือพื้นที่ที่มีความเฉพาะ และมีผู้เข้าไปแข่งขันน้อย ดังเช่นพื้นที่ตามหมู่เกาะต่างๆ เป็นต้น
4. การมีจุดรับพัสดุครอบคลุมทุกพื้นที่
เมื่อผู้ให้บริการสามารถส่งสินค้าไปยังพื้นที่ใดได้แล้ว ก็ควรจะต้องมีจุดรับสินค้าในพื้นที่ดังกล่าวด้วย เพื่อให้สายโซ่ของการบริการนั้นครบวงจร แต่ก็ควรใช้รถขนส่งและพนักงานจัดส่งสินค้านั้นเป็นพื้นที่ในการรับสินค้าไปในตัว โดยการปรับให้รถที่ใช้ในการจัดส่งและพนักงานต้องสามารถทำหน้าที่รับสินค้าจากลูกค้าได้ด้วย หากผู้ให้บริการสามารถทำได้ จะนำมาซึ่งความสามารถของบริษัทในการเข้าถึงผู้ใช้บริการในทุกพื้นที่ และกลายเป็นการรับสินค้าได้จากทุกบ้าน
5. Partner คือทางเลือกที่สำคัญ
หากผู้ประกอบการยังไม่สามารถขยายพื้นที่ให้บริการได้ครอบคลุมได้ การร่วมมือกับ Partner จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการประกอบธุรกิจ Logistics Express เพราะการร่วมมือกับผู้ที่มีเทคโนโลยีที่เหมะสม หรือการร่วมมือกับผู้ที่สนใจเข้ามารับช่วงการให้บริการในเรื่องของจุดรับสินค้าดังที่ไปรษณีย์และเคอรี่ ทำกันในปัจจุบัน ก็จะสามารถช่วยให้ธุรกิจนั้นขยายได้ในอัตราส่วนที่เร็วขึ้น แต่ก็จะตามมาด้วยความยุ่งยากในการบริหารจัดการ
แนวทางเพื่อพัฒนาธุรกิจการส่งสินค้าแบบเร่งด่วนทั้ง 5 ข้อข้างต้น สิ่งสำคัญคือ ผู้ให้บริการหรือผู้ประกอบการโลจิสติกส์จำเป็นต้องพิจารณาถึงศักยภาพความพร้อมขององค์กรว่า ได้เตรียมรับมือกับการขยายบริการที่เพิ่มขึ้นได้มากเพียงใด โดยพิจารณาความเหมาะสมและความจำเป็นในการเลือกใช้แนวทางใดบ้างในการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันเพื่อให้กลายเป็นผู้นำได้
สถานการณ์การแข่งขันธุรกิจ Logistics Express ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง การนำเสนอรูปแบบการให้บริการเพียงแค่การรับ - ส่งสินค้าที่ดึงดูดลูกค้าด้วยความรวดเร็วไม่เพียงพอต่อความต้องการอีกต่อไป ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ด้านการขนส่งอย่าง เอสซีจี (SCG) ทำการจับมือร่วมเป็นพันธมิตรกับ ยามาโตะ เอเชีย ซึ่งผู้ให้บริการขนส่งรายใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ร่วมให้บริการบริการขนส่งรายย่อยแบบเร่งด่วน “SCG Express” เข้ามาร่วมวงแข่งขันในตลาดอีกราย โดย SCG Express ได้แบ่งรูปแบบการบริการออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่
การให้บริการทั้ง 4 รูปแบบข้างต้น ถือเป็นจุดแข็งของบริษัทที่นำมาเสนอต่อลูกค้าในประเทศไทย ประกอบกับเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา SCG Express ประกาศเพิ่มจุดให้บริการส่งพัสดุที่มากกว่า 1,000 จุด เพื่อให้ครอบคลุมทุกจังหวัดภายในกลางปี 2561 และได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือทางธุรกิจกับบริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน) ในการเปิดจุดให้บริการรับพัสดุภายในสถานีบริการน้ำมันของซัสโกแบบ One-Stop Service โดยมีการตั้งเป้าการเปิดจุดให้บริการรับพัสดุในสถานีบริการน้ำมันซัสโก้รวม 100 สาขา เนื่องจากสถานีบริการน้ำมันมีความพร้อมในหลายมิติ เช่น สถานที่จอดรถ ทำเลติดถนนหลัก รวมถึงความพร้อมด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ครบถ้วน
กรณีศึกษาของ SCG Express แสดงให้เห็นชัดเจนถึงการเลือกพาร์ทเนอร์ที่มีประสบการณ์หรือจุดเด่นอันจะนำมาสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันได้ ด้วยบริการที่ใช้นวัตกรรมมาสร้างความเชื่อมั่นและสร้างความแตกต่างให้กับตลาดก่อนใคร
หากพิจารณาถึงธุรกิจที่ดำเนินการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ ในช่วง 5 - 6 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่ารูปแบบการเลือกซื้อสินค้า ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคยังคงติดอยู่กับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งความกังวลเกี่ยวกับการได้รับสินค้าที่ไม่ตรงตามความต้องการ การได้รับสินค้าล่าช้าเมื่อเปรียบเทียบการการออกไปเลือกซื้อโดยตรง ความไม่มั่นใจที่ผู้จำหน่ายอาจหลอกให้ชำระค่าสินค้าโดยไม่ส่งสินค้าให้ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันข้อกังวลใจดังกล่าวนั้นลดลงจากทัศนคติของผู้บริโภคยุคใหม่ อันเนื่องมาจากการปรับตัวรับความก้าวหน้าเทคโนโลยี และรู้เท่าทันภัยจากการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ รวมถึงมีการพัฒนาระบบความปลอดภัยในการใช้งานแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ดีขึ้น ระบบอีคอมเมิร์ซจึงกลายมาเป็นทางเลือกหนึ่งในการเลือกซื้อสินค้าของคนรุ่นใหม่ ส่งผลให้ธุรกิจดังกล่าวเติบโตและมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเป็นช่องทางการดำเนินธุรกิจที่สำคัญในอนาคต
ยิ่งสถานการณ์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซรุนแรงมากเท่าใด ธุรกิจด้านการจัดส่งพัสดุรายย่อยแบบเร่งด่วน หรือ Logistics Express ก็จะยิ่งมีความสำคัญ และเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเท่านั้น ความเกี่ยวเนื่องกันอย่างแยกไม่ออก ทว่าผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ของไทยจำเป็นต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงจากการแข่งขันครั้งนี้ให้มาก มองข้ามปัจจุบันไปสู่อนาคตของธุรกิจที่จะเกิดขึ้น เร่งพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มีความพร้อมต่อการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะท้ายที่สุดแล้ว การให้บริการต้องสามารถตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ ทว่าในอนาคตลูกค้าจะมีความคาดหวังต่อการให้บริการที่เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและรูปแบบ รวมถึงการบริการขนส่งที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
อ้างอิง